เส้นทาง ด่านส่งออกและนำเข้าสำคัญจากไทย-จีน

เส้นทาง ด่านส่งออกและนำเข้าสำคัญจากไทย-จีน
เส้นทาง ด่านส่งออกและนำเข้าสำคัญจากไทย-จีน

เส้นทาง ด่านส่งออกและนำเข้าสำคัญจากไทย-จีน


เส้นทางการขนส่งทางบก
1. เส้นทาง R3A เป็นเส้นทางที่เชื่อมกันระหว่าง ไทย-ลาว-จีน เข้าด้วยกัน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่  
- เส้นทางที่ 1 ทางบก : ด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) -> ด่านห้วยทราย(แขวงบ่อแก้ว-เวียงคูคา-หลวงน้ำกา)-ด่านบ่อเต็น (สปป.ลาว) -> มณฑลยูนาน (ด่านบ่อหาน- เมืองเชียงรุ้ง-คุณหมิง)
- เส้นทางที่ 2 ทางน้ำ การขนส่งสินค้าผ่านทางด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) - ด่านห้วยทราย - ท่าเรือกวนเหล่ย โดยเมื่อถึงจุดหมายแล้วก็จะนำสินค้ากระจายไปยังมณฑลฉงชิ่ง มณฑลเฉินตู และมณฑลเสฉวน

2. เส้นทาง R3B โดยเส้นทางหลักจะผ่านไทย - พม่า - จีน เส้นทางนี้จะเดินทางจากด่านแม่สาย เพื่อเข้าสู่ด่านท่าขี้เหล็ก (ประเทศพม่า) เพื่อมุ่งตรงไปยังด่านเมืองเชียงตุง ผ่านจุดข้ามแดนถาวร เข้าสู่เหม่งหยาง หรือเชียงรุ้ง (ประเทศจีน) ไปบรรจบกับ R3A ที่คุณหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมลฑลยูนนาน ประเทศจีน ถนนนสองเส้นที่บรรจบกันนี้เรียกว่า “สี่เหลี่ยมมรกต” 

3. เส้นทาง R8 เป็นเส้นทางที่เชื่อม 4 ประเทศไว้ด้วยกันเริ่มต้นจากจังหวัดบึงกาฬ (ประเทศไทย) - ด่านปากซัน (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านเกาแจว (ฮาติงห์ ประเทศเวียดนาม) - กรุงฮานอย - ด่านเหล่าเซิน - ด่านโหยวอี้กว่าน (ประเทศจีน)

4. เส้นทาง R9 เป็นด่านทางการค้าผลไม้ที่สำคัญอีกเช่นกัน โดยเส้นทางนี้จะผ่านด่านไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางที่ 1 : ด่านมุกดาหาร - ด่านสะหวันนะเขต - ด่านสะหวัน - ด่านลาวบาว - กรุงฮานอย - ด่านหูหงิ - ด่านโหยวอี้กวน - หนานหนิง แยกอีกหนึ่งเส้นทางไปโดยรถไฟไปสถานีผิงเสียง - หนานหนิง 
- เส้นทางที่ 2 : ด่านมุกดาหาร - สะหวันนะเขต (สปป.ลาว) - ด่านสักวัน - ด่านลาวบาว - ด่านหม่องก๋อย (กว่างมิงห์ เวียดนาม) - ด่านตงชิง (เมืองฝางเชิงก่าง) ที่เป็นเส้นทางใหม่ขนส่งผลไม้ไทยสู่จีนหลังจากนั้นก็จะไปสิ้นสุดที่เมืองหนางหนิงและกระจายสินค้าไปยัง มณฑลเซี่ยเหมิน มณฑลกว่างโจว ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และ มณฑลหูหนาน

5. เส้นทาง R12 เส้นทาง R12 เป็นหนึ่งในเส้นทางขนส่งจากไทยสู่เวียดนาม จากไทยสู่และจีนที่สั้นที่สุด  และถือเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อภาคอีสานของไทยกับนานาประเทศเพื่อนบ้าน และเข้าสู่ด่านในประเทศจีน ถึง 2 ด่าน 2 เส้นทาง โดยแยกได้เป็น 2 เส้นทางดังนี้
- เส้นทางที่ 1 : ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ด่านท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านจาลอ (ประเทศเวียดนาม) - ด่านหูหงิ - ด่านโหยวอี้กว่าน (ประเทศจีน)
- เส้นทางที่ 2 : ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ด่านท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านจาลอ (ประเทศเวียดนาม) - ด่านหม่องก๋าย - ด่านตงซิน (ประเทศจีน)


เส้นทางการขนส่งโดยรถไฟ
ทางรถไฟสายเวียงจันทร์-คุนหมิง หรือ ทางรถไฟสายจีน-ลาว สามารถลำเลียงสินค้าและผู้โดยสารจากจีนตอนใต้ ผ่านลาว โดยเส้นทางนี้จะเชื่อมจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน มาที่บ่อเต็น สปป.ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทร์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อประเทศไทยได้ที่สถานีรถไฟหนองคาย ที่อยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์เพียง 24 กิโลเมตร 

เส้นทางการขนส่งโดยเรือ
เส้นทางการขนส่งโดยเรือจากไทย-จีน เริ่มต้นจากท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไปยังท่าเรือปลายทาง ณ ประเทศจีน โดยท่าเรือที่ได้รับความนิยมในการส่งออกผลไม้ไทยมีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือเซอโข่ว (มณฑลเซินเจิ้น)  ท่าเรือหนานซา (มณฑลกวางตุ้ง) ท่าเรือจ้านเจียน (มณฑลกวางตุ้ง) ท่าเรือซินโจว (เมืองชินโจว) ท่าเรือเซี่ยเหมิน (มณฑลฝูเจี้ยน) ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ (นครเซี่ยงไฮ้) และท่าเรือฮ่องกง
 

เส้นทาง ด่านส่งออกและนำเข้าสำคัญจากไทย-จีน


เส้นทางการขนส่งทางบก
1. เส้นทาง R3A เป็นเส้นทางที่เชื่อมกันระหว่าง ไทย-ลาว-จีน เข้าด้วยกัน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่  
- เส้นทางที่ 1 ทางบก : ด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) -> ด่านห้วยทราย(แขวงบ่อแก้ว-เวียงคูคา-หลวงน้ำกา)-ด่านบ่อเต็น (สปป.ลาว) -> มณฑลยูนาน (ด่านบ่อหาน- เมืองเชียงรุ้ง-คุณหมิง)
- เส้นทางที่ 2 ทางน้ำ การขนส่งสินค้าผ่านทางด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) - ด่านห้วยทราย - ท่าเรือกวนเหล่ย โดยเมื่อถึงจุดหมายแล้วก็จะนำสินค้ากระจายไปยังมณฑลฉงชิ่ง มณฑลเฉินตู และมณฑลเสฉวน

2. เส้นทาง R3B โดยเส้นทางหลักจะผ่านไทย - พม่า - จีน เส้นทางนี้จะเดินทางจากด่านแม่สาย เพื่อเข้าสู่ด่านท่าขี้เหล็ก (ประเทศพม่า) เพื่อมุ่งตรงไปยังด่านเมืองเชียงตุง ผ่านจุดข้ามแดนถาวร เข้าสู่เหม่งหยาง หรือเชียงรุ้ง (ประเทศจีน) ไปบรรจบกับ R3A ที่คุณหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมลฑลยูนนาน ประเทศจีน ถนนนสองเส้นที่บรรจบกันนี้เรียกว่า “สี่เหลี่ยมมรกต” 

3. เส้นทาง R8 เป็นเส้นทางที่เชื่อม 4 ประเทศไว้ด้วยกันเริ่มต้นจากจังหวัดบึงกาฬ (ประเทศไทย) - ด่านปากซัน (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านเกาแจว (ฮาติงห์ ประเทศเวียดนาม) - กรุงฮานอย - ด่านเหล่าเซิน - ด่านโหยวอี้กว่าน (ประเทศจีน)

4. เส้นทาง R9 เป็นด่านทางการค้าผลไม้ที่สำคัญอีกเช่นกัน โดยเส้นทางนี้จะผ่านด่านไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางที่ 1 : ด่านมุกดาหาร - ด่านสะหวันนะเขต - ด่านสะหวัน - ด่านลาวบาว - กรุงฮานอย - ด่านหูหงิ - ด่านโหยวอี้กวน - หนานหนิง แยกอีกหนึ่งเส้นทางไปโดยรถไฟไปสถานีผิงเสียง - หนานหนิง 
- เส้นทางที่ 2 : ด่านมุกดาหาร - สะหวันนะเขต (สปป.ลาว) - ด่านสักวัน - ด่านลาวบาว - ด่านหม่องก๋อย (กว่างมิงห์ เวียดนาม) - ด่านตงชิง (เมืองฝางเชิงก่าง) ที่เป็นเส้นทางใหม่ขนส่งผลไม้ไทยสู่จีนหลังจากนั้นก็จะไปสิ้นสุดที่เมืองหนางหนิงและกระจายสินค้าไปยัง มณฑลเซี่ยเหมิน มณฑลกว่างโจว ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และ มณฑลหูหนาน

5. เส้นทาง R12 เส้นทาง R12 เป็นหนึ่งในเส้นทางขนส่งจากไทยสู่เวียดนาม จากไทยสู่และจีนที่สั้นที่สุด  และถือเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อภาคอีสานของไทยกับนานาประเทศเพื่อนบ้าน และเข้าสู่ด่านในประเทศจีน ถึง 2 ด่าน 2 เส้นทาง โดยแยกได้เป็น 2 เส้นทางดังนี้
- เส้นทางที่ 1 : ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ด่านท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านจาลอ (ประเทศเวียดนาม) - ด่านหูหงิ - ด่านโหยวอี้กว่าน (ประเทศจีน)
- เส้นทางที่ 2 : ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ด่านท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านจาลอ (ประเทศเวียดนาม) - ด่านหม่องก๋าย - ด่านตงซิน (ประเทศจีน)


เส้นทางการขนส่งโดยรถไฟ
ทางรถไฟสายเวียงจันทร์-คุนหมิง หรือ ทางรถไฟสายจีน-ลาว สามารถลำเลียงสินค้าและผู้โดยสารจากจีนตอนใต้ ผ่านลาว โดยเส้นทางนี้จะเชื่อมจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน มาที่บ่อเต็น สปป.ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทร์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อประเทศไทยได้ที่สถานีรถไฟหนองคาย ที่อยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์เพียง 24 กิโลเมตร 

เส้นทางการขนส่งโดยเรือ
เส้นทางการขนส่งโดยเรือจากไทย-จีน เริ่มต้นจากท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไปยังท่าเรือปลายทาง ณ ประเทศจีน โดยท่าเรือที่ได้รับความนิยมในการส่งออกผลไม้ไทยมีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือเซอโข่ว (มณฑลเซินเจิ้น)  ท่าเรือหนานซา (มณฑลกวางตุ้ง) ท่าเรือจ้านเจียน (มณฑลกวางตุ้ง) ท่าเรือซินโจว (เมืองชินโจว) ท่าเรือเซี่ยเหมิน (มณฑลฝูเจี้ยน) ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ (นครเซี่ยงไฮ้) และท่าเรือฮ่องกง