รู้จักกับท่าเรือกวนเหล่ย เมืองท่าหน้าด่านเชื่อมยูนนาน-สามเหลี่ยมทองคำ

รู้จักกับท่าเรือกวนเหล่ย เมืองท่าหน้าด่านเชื่อมยูนนาน-สามเหลี่ยมทองคำ
รู้จักกับท่าเรือกวนเหล่ย เมืองท่าหน้าด่านเชื่อมยูนนาน-สามเหลี่ยมทองคำ

ท่าเรือกวนเหล่ย ตั้งอยู่ที่ในเมืองล่า สิบสองปันนา ตั้งอยู่บริเวณแนวพรมแดนจีน ลาว และพม่า ได้รับการออกแบบให้สามารถรับสินค้าได้ 200,000 ตันต่อปี และผู้โดยสารได้ 150,000 คนต่อปี ท่าเทียบเรือมีความยาวทั้งสิ้น 380 เมตร สามารถรับเรือขนาด 300 ตัน ประกอบด้วยท่าเทียบเรือสินค้า 2 ท่า และท่าเทียบเรือโดยสาร 1 ท่า สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือประกอบด้วยลานวางสินค้า โรงพักสินค้า อาคารผู้โดยสาร หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในท่าเรือได้แก่ การท่าเรือ ศุลกากร และด่านตรวจคนเข้าเมือง

ท่าเรือกวนเหล่ยเป็นท่าเรือสำคัญที่ไทยมักส่งออกผ่านด่านศุลกากรเชียงแสน ผ่านแม่น้ำโขง ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทย เช่น ยางพารา อาหารแปรรูป และสินค้าเบ็ดเตล็ด เป็นต้น ท่าเรือกวนเหล่ยเป็น“ด่านจำเพาะสำหรับนำเข้าเนื้อสัตว์” ตามที่สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีนกำหนด เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ด่านท่าเรือกวนเหล่ยในเขตฯ สิบสองปันนาของมณฑลยูนนาน ได้รับอนุญาตให้กลับมาดำเนินการขนส่งสินค้าอีกครั้ง หลังจากปิดไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 การเปิดด่านในครั้งนี้ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการได้แก่ 1) ไม่นําเข้าโรคระบาด 2) ไม่แพร่กระจายโรคระบาด และ 3) ไม่ทำให้กลับมาเกิดการระบาดของโรคอีก ทั้งนี้ ในระยะแรก ปริมาณการสัญจรของเรือขนส่งสินค้าขาเข้ามายังท่าเรือกวนเหล่ยอาจจะยังมีจำนวนไม่มาก เนื่องจากผู้ส่งออกสินค้าผ่านแม่น้ำโขง ยังคงต้องใช้เวลาประสานงาน ศึกษาและวางแผนการขนส่งทางเรือให้สอดคล้องกับระเบียบและมาตรฐานด้านการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 โดยการเปิดด่านเพื่อขนส่งสินค้ายังจํากัดเฉพาะสินค้าทั่วไปเป็นหลักก่อน โดยยังไม่อนุญาตให้มีการขนส่งสินค้าที่ต้องดำเนินการผ่านระบบโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิ (cold chain) เนื่องจากฝ่ายจีนยังมองว่าสินค้าในกลุ่มควบคุมอุณหภูมิยังมีความเสี่ยงสูงต่อการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19

ในปี 2561 มูลค่าการส่งออกของไทย (ส่งออกจากด่านศุลกากร และท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนไปจีน) คิดเป็นจำนวน 1,262 ล้านบาท และเป็นมูลค่าการส่งออกทางเรือจำนวน 98 ล้านบาท แต่หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มูลค่าการส่งออกลดลงเหลือ 771 ล้านบาท และเป็นมูลค่าการส่งออกทางเรือจำนวน 15 ล้านบาท ดังนั้น การกลับมาเปิดท่าเรือกวนเหล่ยหลังจากที่ทางจีนปิดให้บริการตั้งแต่ต้นปี 2563 จะทำให้การส่งออกของไทยผ่านช่องทางดังกล่าวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

 

สถานการณ์ปัจจุบัน

- พนักงานขับรถและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องต้องตรวจกรดนิวคลีอิกทุกวัน

- สินค้าขาออกจากจีนผ่านท่าเรือกวนเหล่ย ได้แก่ มันฝรั่ง กระเทียมและใบชา แต่สินค้าขาเข้าผ่านท่าเรือดังกล่าวยังมีจํานวนน้อย

- ด่านท่าเรือกวนเหล่ยยังไม่อนุญาตให้มีการขนส่งสินค้าที่ต้องดำเนินการผ่านระบบโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิ (cold chain)

 

ข้อมูลจาก www. globthailand.com

 

ท่าเรือกวนเหล่ย ตั้งอยู่ที่ในเมืองล่า สิบสองปันนา ตั้งอยู่บริเวณแนวพรมแดนจีน ลาว และพม่า ได้รับการออกแบบให้สามารถรับสินค้าได้ 200,000 ตันต่อปี และผู้โดยสารได้ 150,000 คนต่อปี ท่าเทียบเรือมีความยาวทั้งสิ้น 380 เมตร สามารถรับเรือขนาด 300 ตัน ประกอบด้วยท่าเทียบเรือสินค้า 2 ท่า และท่าเทียบเรือโดยสาร 1 ท่า สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือประกอบด้วยลานวางสินค้า โรงพักสินค้า อาคารผู้โดยสาร หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในท่าเรือได้แก่ การท่าเรือ ศุลกากร และด่านตรวจคนเข้าเมือง

ท่าเรือกวนเหล่ยเป็นท่าเรือสำคัญที่ไทยมักส่งออกผ่านด่านศุลกากรเชียงแสน ผ่านแม่น้ำโขง ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทย เช่น ยางพารา อาหารแปรรูป และสินค้าเบ็ดเตล็ด เป็นต้น ท่าเรือกวนเหล่ยเป็น“ด่านจำเพาะสำหรับนำเข้าเนื้อสัตว์” ตามที่สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีนกำหนด เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ด่านท่าเรือกวนเหล่ยในเขตฯ สิบสองปันนาของมณฑลยูนนาน ได้รับอนุญาตให้กลับมาดำเนินการขนส่งสินค้าอีกครั้ง หลังจากปิดไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 การเปิดด่านในครั้งนี้ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการได้แก่ 1) ไม่นําเข้าโรคระบาด 2) ไม่แพร่กระจายโรคระบาด และ 3) ไม่ทำให้กลับมาเกิดการระบาดของโรคอีก  ทั้งนี้ ในระยะแรก ปริมาณการสัญจรของเรือขนส่งสินค้าขาเข้ามายังท่าเรือกวนเหล่ยอาจจะยังมีจำนวนไม่มาก เนื่องจากผู้ส่งออกสินค้าผ่านแม่น้ำโขง ยังคงต้องใช้เวลาประสานงาน ศึกษาและวางแผนการขนส่งทางเรือให้สอดคล้องกับระเบียบและมาตรฐานด้านการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 โดยการเปิดด่านเพื่อขนส่งสินค้ายังจํากัดเฉพาะสินค้าทั่วไปเป็นหลักก่อน โดยยังไม่อนุญาตให้มีการขนส่งสินค้าที่ต้องดำเนินการผ่านระบบโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิ (cold chain) เนื่องจากฝ่ายจีนยังมองว่าสินค้าในกลุ่มควบคุมอุณหภูมิยังมีความเสี่ยงสูงต่อการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19

ในปี 2561 มูลค่าการส่งออกของไทย (ส่งออกจากด่านศุลกากร และท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนไปจีน) คิดเป็นจำนวน 1,262 ล้านบาท และเป็นมูลค่าการส่งออกทางเรือจำนวน 98 ล้านบาท แต่หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มูลค่าการส่งออกลดลงเหลือ 771 ล้านบาท และเป็นมูลค่าการส่งออกทางเรือจำนวน 15 ล้านบาท ดังนั้น การกลับมาเปิดท่าเรือกวนเหล่ยหลังจากที่ทางจีนปิดให้บริการตั้งแต่ต้นปี 2563 จะทำให้การส่งออกของไทยผ่านช่องทางดังกล่าวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

 

สถานการณ์ปัจจุบัน

- พนักงานขับรถและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องต้องตรวจกรดนิวคลีอิกทุกวัน

- สินค้าขาออกจากจีนผ่านท่าเรือกวนเหล่ย ได้แก่ มันฝรั่ง กระเทียมและใบชา แต่สินค้าขาเข้าผ่านท่าเรือดังกล่าวยังมีจํานวนน้อย

- ด่านท่าเรือกวนเหล่ยยังไม่อนุญาตให้มีการขนส่งสินค้าที่ต้องดำเนินการผ่านระบบโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิ (cold chain)

 

ข้อมูลจาก www. globthailand.com