เส้นทาง R12 : ไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน ประตูเศรษฐกิจภาคอีสาน เชื่อมโยง 4 ประเทศ

เส้นทาง R12 : ไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน ประตูเศรษฐกิจภาคอีสาน เชื่อมโยง 4 ประเทศ

 

เส้นทาง R12: ไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน

แนวพื้นที่เศษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East West Economic Corridor : EWEC

เส้นทาง R12 เป็นหนึ่งในเส้นทางขนส่งจากไทยสู่เวียดนาม จากไทยสู่และจีนที่สั้นที่สุด  และถือเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อภาคอีสานของไทยกับนานาประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มต้นจากด่านนครพนม ประเทศไทย ผ่านสปป. ลาว ผ่านประเทศเวียดนาม และเข้าสู่ด่านในประเทศจีน ถึง 2 ด่าน 2 เส้นทาง ระยะทางรวมกว่า 1,499 กิโลเมตร สินค้าที่นิยมขนส่งผ่านเส้นทางนี้ ได้แก่ โคเนื้อ โคนม และผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ สินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าการเกษตร และปิโตเลียม

เส้นทาง R12 เชื่อมต่อผ่านจุดสำคัญของทั้ง 4 ประเทศ โดยแยกได้เป็น 2 เส้นทางดังนี้ 

เส้นทาง 1 : ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ด่านท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านจาลอ (ประเทศเวียดนาม) - ด่านหูหงิ - ด่านโหยวอี้กว่าน (ประเทศจีน)


เส้นทาง 2 : ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ด่านท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านจาลอ (ประเทศเวียดนาม) - ด่านหม่องก๋าย - ด่านตงซิน (ประเทศจีน)

ทั้ง 2 เส้นทางสามารถเชื่อมต่อกันได้ที่ ด่านโหยวอี้กว่าน และด่านตงซิน ประเทศจีน 

ระยะทางรวม 1,499 กม. 

ระยะทางจากด่านท่าแขก- ด่านน้ำพาว รวม 160 กม.

ระยะทางจากด่านจาลอ - ด่านหูหงิ รวม 622 กม.

ระยะทางจากด่านจาลอ - ด่านหม่องก๋าย รวม 717 กม.


ถนนสายนี้มีความสำคัญในหลากหลายมิติ เนื่องจาก R12 มีจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางสำคัญอื่นๆ อีกหลายเส้นทาง เช่นทางหลวง  AH1 ซึ่งเป็นทางหลักมุ่งหน้าไปยังกรุงฮานอย และเขตเศรษฐกิจอื่นๆ ของเวียดนามตอนกลาง เช่น เขตเศรษฐกิจวุงอ่าง และยังเชื่อมต่อกับ Ho Chi Minh Highway ซึ่งเป็นเส้นทางหลักมุ่งสู่ทั้งเวียดนามเหนือและใต้  ดังนั้นเส้นทางสาย R12 จึงถือเป็นอีกจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการกระจายสินค้าที่มีความหลากหลาย และเชื่อมต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกับจังหวัดในแถบแนวชายแดนภาคอีสานของไทย เส้นทางสายนี้มีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวจากลาว และเวียดนาม สามารถเดินทางเข้ามายังประเทศไทยได้สะดวกยิ่งขึ้น และถือเป็นเส้นทางเชื่อมไปยังเวียดนามใกล้ที่สุดอีกด้วย

 

----------------------------------------------

ที่มา:

กรมการค้าต่างประเทศ

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

https://www.ryt9.com/s/beco/1954786

https://www.dailynews.co.th/article/741886

http://www.freightmaxad.com/magazine/?p=5394

 

เส้นทาง R12: ไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน

แนวพื้นที่เศษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East West Economic Corridor : EWEC

เส้นทาง R12 เป็นหนึ่งในเส้นทางขนส่งจากไทยสู่เวียดนาม จากไทยสู่และจีนที่สั้นที่สุด  และถือเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อภาคอีสานของไทยกับนานาประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มต้นจากด่านนครพนม ประเทศไทย ผ่านสปป. ลาว ผ่านประเทศเวียดนาม และเข้าสู่ด่านในประเทศจีน ถึง 2 ด่าน 2 เส้นทาง ระยะทางรวมกว่า 1,499 กิโลเมตร สินค้าที่นิยมขนส่งผ่านเส้นทางนี้ ได้แก่ โคเนื้อ โคนม และผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ สินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าการเกษตร และปิโตเลียม

เส้นทาง R12 เชื่อมต่อผ่านจุดสำคัญของทั้ง 4 ประเทศ โดยแยกได้เป็น 2 เส้นทางดังนี้ 

เส้นทาง 1 : ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ด่านท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านจาลอ (ประเทศเวียดนาม) - ด่านหูหงิ - ด่านโหยวอี้กว่าน (ประเทศจีน)


เส้นทาง 2 : ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ด่านท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านน้ำพาว - ด่านจาลอ (ประเทศเวียดนาม) - ด่านหม่องก๋าย - ด่านตงซิน (ประเทศจีน)

ทั้ง 2 เส้นทางสามารถเชื่อมต่อกันได้ที่ ด่านโหยวอี้กว่าน และด่านตงซิน ประเทศจีน 

ระยะทางรวม 1,499 กม. 

ระยะทางจากด่านท่าแขก- ด่านน้ำพาว รวม 160 กม.

ระยะทางจากด่านจาลอ - ด่านหูหงิ รวม 622 กม.

ระยะทางจากด่านจาลอ - ด่านหม่องก๋าย รวม 717 กม.


ถนนสายนี้มีความสำคัญในหลากหลายมิติ เนื่องจาก R12 มีจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางสำคัญอื่นๆ อีกหลายเส้นทาง เช่นทางหลวง  AH1 ซึ่งเป็นทางหลักมุ่งหน้าไปยังกรุงฮานอย และเขตเศรษฐกิจอื่นๆ ของเวียดนามตอนกลาง เช่น เขตเศรษฐกิจวุงอ่าง และยังเชื่อมต่อกับ Ho Chi Minh Highway ซึ่งเป็นเส้นทางหลักมุ่งสู่ทั้งเวียดนามเหนือและใต้  ดังนั้นเส้นทางสาย R12 จึงถือเป็นอีกจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการกระจายสินค้าที่มีความหลากหลาย และเชื่อมต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกับจังหวัดในแถบแนวชายแดนภาคอีสานของไทย เส้นทางสายนี้มีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวจากลาว และเวียดนาม สามารถเดินทางเข้ามายังประเทศไทยได้สะดวกยิ่งขึ้น และถือเป็นเส้นทางเชื่อมไปยังเวียดนามใกล้ที่สุดอีกด้วย

 

----------------------------------------------

ที่มา:

กรมการค้าต่างประเทศ

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

https://www.ryt9.com/s/beco/1954786

https://www.dailynews.co.th/article/741886

http://www.freightmaxad.com/magazine/?p=5394