การเชื่อมโยงทางการค้าเซี่ยเหมินกับประเทศเส้นทาง BRI มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง


        ในช่วงที่ผ่านมา การค้าเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน กับประเทศที่เข้าร่วมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ  BRI (Belt and Road Initiative) ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ข้อมูลจากศุลกากร ตั้งแต่ ปี 2556 ถึง เดือนสิงหาคม 2566 เมืองเซี่ยเหมินและประเทศ BRI มีมูลค่าการค้าสะสมรวม 3 ล้านล้านหยวน (หรือคิดเป็น 411,530 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยมีมูลค่าการส่งออกที่ 1.55 ล้านล้านหยวน และ มูลค่าการนำเข้าที่ 1.46 ล้านหยวน

       ธุรกิจเอกชนเป็นสัดส่วนทางการค้าระหว่างประเทศมากที่สุด โดยการค้าระหว่างภาคเอกชนของเมืองเซี่ยเหมินและประเทศ BRI มูลค่าอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็นร้อยละ 39.9 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของเมืองเซี่ยเหมินกับประเทศ  BRI ในด้านการค้าระหว่างรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของเมืองเซี่ยเหมินกับประเทศ BRI ธุรกิจที่ลงทุนจากชาวต่างชาติมีมูลค่าการนำเข้าส่งออก 170,500 หยวน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.7 ของมูลค่าการนำเข้าส่งออกทั้งหมด

       สินค้าเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ รองเท้า และเหล็กกล้า เป็นสินค้าส่งออกหลักของเมืองเซี่ยเหมิน ที่ส่งออกไปยังประเทศในเส้นทาง BRI โดยสินค้าเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอมีมูลค่าการส่งออก 395,240 หยวน มูลค่าการส่งออกสินค้ารองเท้า 112,410 หยวน และมูลค่าการส่งออกสินค้าเหล็กกล้า 64,380 หยวน ทั้งนี้ สินค้าหลักที่เมืองเซี่ยเหมินนำเข้าจากประเทศในเส้นทาง BRI ได้แก่ แร่โลหะ มีมูลค่าการนำเข้า 223,730 หยวน ถ่านหิน มีมูลค่าการนำเข้า 157,030 หยวน และ ผลิตภัณฑ์วงจรรวม มีมูลค่าการนำเข้า 120,500 หยวน ตามลำดับ

       นับตั้งแต่มีการส่งออกรถยนต์ EV ครั้งแรกผ่านเส้นทาง จีน (เซี่ยเหมิน) – ยุโรป กรมศุลกากรได้ยึดมั่นและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานของพิธีการศุลกากร เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพทางโลจิสติกส์ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการกระจายตัวของสินค้าผ่านเส้นทางจีน (เซี่ยเหมิน) – ยุโรป เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 รถ EV ที่ผลิตในจีนจำนวนหนึ่งล็อต ได้ถูกส่งไปยังประเทศเบลารุส ผ่านเส้นทางรถไปจีน (เซี่ยเหมิน) – ยุโรป คาดว่าจะถึงปลายทางภายใน 18 วัน

       ตั้งแต่เปิดใช้งานเส้นทางขบวนรถไฟ จีน-ยุโรป เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ถึง กันยายน 2566 กรมศุลกากรเซี่ยเหมิน ได้ให้บริการด้านพิธีการศุลกากรแล้วถึง 1280 ขบวน มีมูลค่าส่งออกสะสม 4,580 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วงต้นปี 2566 เป็นต้นมามีการขนส่งสินค้ารวม 75 ขบวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.17 YoY คิดเป็นปริมาณ 8,502 ตู้คอนเทนเนอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.20 YoY ปริมาณสินค้ารวมประมาณ 54,300 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.45 YoY นอกจากนี้ ยังมีการขยายเส้นทางการขนส่งไปยังประเทศเวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย และฮ่องกง ที่จะสามารถลดระยะเวลาการขนส่งสินค้าจาก 30-40 วันให้เหลือภายใน 20 วัน นอกจากนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 รถไฟบรรทุกสินค้าขบวนแรกได้กลับมาขนส่งสินค้าเข้าสู่เมืองเซี่ยเหมิน  มณฑลฝูเจี้ยน อีกครั้ง หลังจากที่ถูกระงับการนำเข้ามานานกว่า 2 ปี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างเซี่ยเหมินกับประเทศยุโปเพิ่มมากขึ้น

       เพื่อให้บริษัทต่างๆ ของเมืองเซี่ยเหมินก้าวไปสู่ “ระดับโลก” และความร่วมมือกับประเทศในแถบเส้นทาง BRI อย่างต่อเนื่อง เมืองเซี่ยเหมินจึงมุงเน้นยกระดับและพัฒนาประสิทธิภาพพิธีการศุลกากรท่าเรือ และการรถไฟอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสร้างแพลตฟอร์มกำกับดูแลขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ส่งเสริมและพัฒนาขั้นตอนพิธีการศุลกากร ไม่ว่าจะเป็นโมเดลการรับส่งสินค้า การโหลดสินค้าออกจากท่าเรือ เป็นต้น นอกจากนี้ เมืองเซี่ยเหมินยังได้พัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะตัวแรกสำหรับการดูแลด้านศุลกากรในประเทศ โดยจะมีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการทำงานแทนมนุษย์ เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน

     ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : ปัจจุบันเมืองเซี่ยเหมินมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลเซี่ยเหมินมีการสร้างความเชื่อมโยงเศรษฐกิจเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ฝูเจี้ยนอยู่ในเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางสายไหมใหม่ ตามยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ผลสำเร็จของการริเริ่มโครงการ Belt and Road Initiative คือ การพัฒนาการขนส่งสินค้าจีน-ยุโรป สร้างเครือข่ายโลจิสติกส์แบบบูรณาการ จากเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงกับเส้นทางเดินเรือ ครอบคลุมทั้งทางบกและทางน้ำ  และยังเป็นการปรับปรุงและพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าระหว่างประเทศ BRI ให้แน้นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เซี่ยนเหมินจึงกลายเป็นเมืองท่าเรือและเมืองแห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญของจีน การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองเซี่ยเหมินจะสามารถเพิ่มศักยภาพทางด้านการค้าและการลงทุน รวมไปถึงการไหลเวียนของภาคการบริการ ชีวิตความเป็นอยู่และความสามารถในการใช้จ่ายของผู้คนดียิ่งขึ้น ส่งผลการเพิ่มโอกาสและความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างไทย-จีน

เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

        ในช่วงที่ผ่านมา การค้าเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน กับประเทศที่เข้าร่วมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ  BRI (Belt and Road Initiative) ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ข้อมูลจากศุลกากร ตั้งแต่ ปี 2556 ถึง เดือนสิงหาคม 2566 เมืองเซี่ยเหมินและประเทศ BRI มีมูลค่าการค้าสะสมรวม 3 ล้านล้านหยวน (หรือคิดเป็น 411,530 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยมีมูลค่าการส่งออกที่ 1.55 ล้านล้านหยวน และ มูลค่าการนำเข้าที่ 1.46 ล้านหยวน

       ธุรกิจเอกชนเป็นสัดส่วนทางการค้าระหว่างประเทศมากที่สุด โดยการค้าระหว่างภาคเอกชนของเมืองเซี่ยเหมินและประเทศ BRI มูลค่าอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็นร้อยละ 39.9 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของเมืองเซี่ยเหมินกับประเทศ  BRI ในด้านการค้าระหว่างรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของเมืองเซี่ยเหมินกับประเทศ BRI ธุรกิจที่ลงทุนจากชาวต่างชาติมีมูลค่าการนำเข้าส่งออก 170,500 หยวน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.7 ของมูลค่าการนำเข้าส่งออกทั้งหมด

       สินค้าเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ รองเท้า และเหล็กกล้า เป็นสินค้าส่งออกหลักของเมืองเซี่ยเหมิน ที่ส่งออกไปยังประเทศในเส้นทาง BRI โดยสินค้าเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอมีมูลค่าการส่งออก 395,240 หยวน มูลค่าการส่งออกสินค้ารองเท้า 112,410 หยวน และมูลค่าการส่งออกสินค้าเหล็กกล้า 64,380 หยวน ทั้งนี้ สินค้าหลักที่เมืองเซี่ยเหมินนำเข้าจากประเทศในเส้นทาง BRI ได้แก่ แร่โลหะ มีมูลค่าการนำเข้า 223,730 หยวน ถ่านหิน มีมูลค่าการนำเข้า 157,030 หยวน และ ผลิตภัณฑ์วงจรรวม มีมูลค่าการนำเข้า 120,500 หยวน ตามลำดับ

       นับตั้งแต่มีการส่งออกรถยนต์ EV ครั้งแรกผ่านเส้นทาง จีน (เซี่ยเหมิน) – ยุโรป กรมศุลกากรได้ยึดมั่นและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานของพิธีการศุลกากร เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพทางโลจิสติกส์ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการกระจายตัวของสินค้าผ่านเส้นทางจีน (เซี่ยเหมิน) – ยุโรป เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 รถ EV ที่ผลิตในจีนจำนวนหนึ่งล็อต ได้ถูกส่งไปยังประเทศเบลารุส ผ่านเส้นทางรถไปจีน (เซี่ยเหมิน) – ยุโรป คาดว่าจะถึงปลายทางภายใน 18 วัน

       ตั้งแต่เปิดใช้งานเส้นทางขบวนรถไฟ จีน-ยุโรป เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ถึง กันยายน 2566 กรมศุลกากรเซี่ยเหมิน ได้ให้บริการด้านพิธีการศุลกากรแล้วถึง 1280 ขบวน มีมูลค่าส่งออกสะสม 4,580 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วงต้นปี 2566 เป็นต้นมามีการขนส่งสินค้ารวม 75 ขบวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.17 YoY คิดเป็นปริมาณ 8,502 ตู้คอนเทนเนอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.20 YoY ปริมาณสินค้ารวมประมาณ 54,300 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.45 YoY นอกจากนี้ ยังมีการขยายเส้นทางการขนส่งไปยังประเทศเวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย และฮ่องกง ที่จะสามารถลดระยะเวลาการขนส่งสินค้าจาก 30-40 วันให้เหลือภายใน 20 วัน นอกจากนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 รถไฟบรรทุกสินค้าขบวนแรกได้กลับมาขนส่งสินค้าเข้าสู่เมืองเซี่ยเหมิน  มณฑลฝูเจี้ยน อีกครั้ง หลังจากที่ถูกระงับการนำเข้ามานานกว่า 2 ปี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างเซี่ยเหมินกับประเทศยุโปเพิ่มมากขึ้น

       เพื่อให้บริษัทต่างๆ ของเมืองเซี่ยเหมินก้าวไปสู่ “ระดับโลก” และความร่วมมือกับประเทศในแถบเส้นทาง BRI อย่างต่อเนื่อง เมืองเซี่ยเหมินจึงมุงเน้นยกระดับและพัฒนาประสิทธิภาพพิธีการศุลกากรท่าเรือ และการรถไฟอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสร้างแพลตฟอร์มกำกับดูแลขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ส่งเสริมและพัฒนาขั้นตอนพิธีการศุลกากร ไม่ว่าจะเป็นโมเดลการรับส่งสินค้า การโหลดสินค้าออกจากท่าเรือ เป็นต้น นอกจากนี้ เมืองเซี่ยเหมินยังได้พัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะตัวแรกสำหรับการดูแลด้านศุลกากรในประเทศ โดยจะมีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการทำงานแทนมนุษย์ เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน

     ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : ปัจจุบันเมืองเซี่ยเหมินมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลเซี่ยเหมินมีการสร้างความเชื่อมโยงเศรษฐกิจเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ฝูเจี้ยนอยู่ในเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางสายไหมใหม่ ตามยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ผลสำเร็จของการริเริ่มโครงการ Belt and Road Initiative คือ การพัฒนาการขนส่งสินค้าจีน-ยุโรป สร้างเครือข่ายโลจิสติกส์แบบบูรณาการ จากเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงกับเส้นทางเดินเรือ ครอบคลุมทั้งทางบกและทางน้ำ  และยังเป็นการปรับปรุงและพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าระหว่างประเทศ BRI ให้แน้นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เซี่ยนเหมินจึงกลายเป็นเมืองท่าเรือและเมืองแห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญของจีน การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองเซี่ยเหมินจะสามารถเพิ่มศักยภาพทางด้านการค้าและการลงทุน รวมไปถึงการไหลเวียนของภาคการบริการ ชีวิตความเป็นอยู่และความสามารถในการใช้จ่ายของผู้คนดียิ่งขึ้น ส่งผลการเพิ่มโอกาสและความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างไทย-จีน

เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน