อีอีซีดึงเจิ้งโจว MOU ร่วมพัฒนาเมืองการบิน 2 แสนล.


อีอีซีดึงเขตเศรษฐกิจอากาศ ยานนครเจิ้งโจว เป็นต้นแบบ ร่วมพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2 แสนล้าน ลงนามความร่วมมือ 2 ฉบับ 29 สิงหาคมนี้ ทั้งการวางแผนพัฒนาพื้นที่ในและนอกสนามบิน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน พร้อมหลักสูตรอบรมบุคลากรการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี

นโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี 1 ใน โครงการที่สำคัญ เป็นเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกมูลค่าลงทุนราว 2 แสนล้านบาท ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนที่คาดว่าจะคัดเลือกผู้ชนะประมูลได้ในเดือนกันยายน 2562 นี้ และพัฒนาให้แล้วเสร็จเปิดใช้บริการได้ในปี2566 ซึ่งการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก ได้มีการศึกษาต้นแบบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอากาศยานนครเจิ้งโจวของจีน ในการเชื่อมต่อการขนส่งทางอากาศเข้ากับการขนส่งรูปแบบอื่น และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาพื้นที่โดยรอบสนามบินอู่ตะเภาให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562 ได้เห็นชอบอนุมัติร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU)ด้านความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) กับรัฐบาลมณฑลเหอหนาน และคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษอากาศยานเจิ้งโจว ตามที่สกพอ.เสนอ ซึ่งแต่เดิมมีกำหนดจัดให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ทั้ง 2 ฉบับระหว่าง สกพอ.กับรัฐบาล มณฑลเหอหนาน และ Zhengzhou Airport Economy Zone : ZAEZ ช่วงวันที่ 8-11 เมษายน 2562 ณ เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน แต่เนื่องจากอยู่ช่วงรอยต่อของการจัดตั้งรัฐบาล ใหม่ จึงได้มีการเลื่อนลงนามไปก่อน

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 สิงหาคมนี้ จะมีพิธีลงนามเอ็มโอยูดังกล่าว มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยมีเนื้อหาของร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง สกพอ. กับรัฐบาลมณฑลเหอหนาน จะประกอบด้วยการสนับสนุนการพัฒนาโครงการศูนย์การบินคู่ขนาน(Aviation Dual Hub Project) ระหว่างจีนตอนกลางและภูมิภาคอาเซียน เสริมสร้างความร่วมมือในการวางแผนพัฒนาพื้นที่สนามบิน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน เช่น โลจิสติกส์การบิน การซ่อมบำรุงอากาศยาน หลักสูตรอบรมบุคลากรการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้นตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันภายใต้กรอบข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative)

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/408187

 

อีอีซีดึงเขตเศรษฐกิจอากาศ ยานนครเจิ้งโจว เป็นต้นแบบ ร่วมพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2 แสนล้าน ลงนามความร่วมมือ 2 ฉบับ 29 สิงหาคมนี้ ทั้งการวางแผนพัฒนาพื้นที่ในและนอกสนามบิน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน พร้อมหลักสูตรอบรมบุคลากรการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี

นโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี 1 ใน โครงการที่สำคัญ เป็นเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกมูลค่าลงทุนราว 2 แสนล้านบาท ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนที่คาดว่าจะคัดเลือกผู้ชนะประมูลได้ในเดือนกันยายน 2562 นี้ และพัฒนาให้แล้วเสร็จเปิดใช้บริการได้ในปี2566 ซึ่งการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก ได้มีการศึกษาต้นแบบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอากาศยานนครเจิ้งโจวของจีน ในการเชื่อมต่อการขนส่งทางอากาศเข้ากับการขนส่งรูปแบบอื่น และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาพื้นที่โดยรอบสนามบินอู่ตะเภาให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562 ได้เห็นชอบอนุมัติร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU)ด้านความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) กับรัฐบาลมณฑลเหอหนาน และคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษอากาศยานเจิ้งโจว ตามที่สกพอ.เสนอ ซึ่งแต่เดิมมีกำหนดจัดให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ทั้ง 2 ฉบับระหว่าง สกพอ.กับรัฐบาล มณฑลเหอหนาน และ Zhengzhou Airport Economy Zone : ZAEZ ช่วงวันที่ 8-11 เมษายน 2562 ณ เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน แต่เนื่องจากอยู่ช่วงรอยต่อของการจัดตั้งรัฐบาล ใหม่ จึงได้มีการเลื่อนลงนามไปก่อน

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 สิงหาคมนี้ จะมีพิธีลงนามเอ็มโอยูดังกล่าว มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยมีเนื้อหาของร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง สกพอ. กับรัฐบาลมณฑลเหอหนาน จะประกอบด้วยการสนับสนุนการพัฒนาโครงการศูนย์การบินคู่ขนาน(Aviation Dual Hub Project) ระหว่างจีนตอนกลางและภูมิภาคอาเซียน เสริมสร้างความร่วมมือในการวางแผนพัฒนาพื้นที่สนามบิน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน เช่น โลจิสติกส์การบิน การซ่อมบำรุงอากาศยาน หลักสูตรอบรมบุคลากรการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้นตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันภายใต้กรอบข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative)

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/408187