สตาร์ตอัพรวมพลังช่วยSME ปั้น”ไทยดีลิเวอรี่”สู้แอปข้ามชาติ


สตาร์ตอัพไทยผนึกกำลังตลาด mai ผุดโครงการ “ไทยดีลิเวอรี่” ปั้น “แพลตฟอร์มไทยดีลิเวอรี่” ช่วยร้านอาหารฝ่าวิกฤตโควิด-19 หวังเป็นทางรอดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย และเป็นทางเลือกใหม่ไม่ต้องพึ่งแต่แอปพลิเคชั่นเจ้าดังที่เรียกเก็บค่าคอมมิสชั่นแพงลิบ 30-35% “SHIPPOP” ดึงเครือข่ายจัดส่งสินค้ากว่า 3,000 คนทั่วประเทศเสริมทีม ฟาก “ดีป้า” พร้อมควักเงินสนับสนุน

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้บรรดาร้านอาหารทั้งหลาย รวมถึงร้านเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้ากัน เพราะไม่สามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานที่ร้านได้ จึงต้องปรับตัวเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ และให้ลูกค้าซื้อกลับบ้านแทน จึงต้องมีบริการ “ดีลิเวอรี่” ซึ่งการขายผ่านแอปพลิเคชั่นดีลิเวอรี่เจ้าดังทั้งหลายต้องเสียค่าคอมมิสชั่นค่อนข้างสูงถึง 30-35% ทำให้เหลือกำไรไม่มากนัก

แหล่งข่าวในวงการสตาร์ตอัพไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ได้มีการรวมตัวกันของกลุ่มสตาร์ตอัพและผู้ประกอบการไทยหลายราย ในการหาทางแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 โดยได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์ mai ในการเป็นแกนนำผลักดันโครงการ “ไทยดีลิเวอรี่” แพลตฟอร์ม “ฟู้ดดีลิเวอรี่” ของคนไทยเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายช่องทางขายทางออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าคอมมิสชั่น (GP) ในอัตราที่สูงราว 30-35% เช่นในปัจจุบันที่ต้องจ่ายให้กับแพลตฟอร์มฟู้ดดีลิเวอรี่รายใหญ่จากต่างประเทศ

โดยจะเป็นการดึงจุดแข็งของสตาร์ตอัพแต่ละรายที่เข้ามาร่วมมือกัน อาทิ เครือข่ายขนส่งของ SHIPPOP, เครือข่ายการชำระเงินของเพย์โซลูชั่น และกำลังพยายามดึงอีกหลายสตาร์ตอัพ รวมถึงแหล่งเงินทุนเข้ามาสนับสนุน โดยเฉพาะแหล่งเงินทุนของภาครัฐที่เพิ่งเริ่มเข้าไปพูดคุยกับหลายรายแล้ว คาดว่าน่าจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากต้องการทำให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

“เมื่อต้องรับมือกับไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องล็อกดาวน์เมือง ส่งผลให้ช่องทางออนไลน์และดีลิเวอรี่เป็นช่องทางหารายได้ที่สำคัญ เห็นได้จากผู้ประกอบการทั้งอีคอมเมิร์ซและฟู้ดดีลิเวอรี่ทั้งหลายต่างมีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของผู้ประกอบการรายใหญ่มีกำลังพอที่จะขยายช่องทางของตัวเองได้ ต่างจากกลุ่ม SMEs ที่ถือเป็นฐานรากสำคัญ ถ้าไม่มีตัวช่วยก็จะอยู่รอดยาก เพราะต้องจ่ายค่า GP สูงมาก”

สำหรับโครงการนี้ ความยากอยู่ที่ปัจจุบันผู้บริโภคไทยคุ้นชินกับการใช้แพลตฟอร์มของเจ้าใหญ่ อย่างแกร็บ, ไลน์, ฟู้ดแพนด้า, เก็ท เป็นต้น ซึ่งต่างทุ่มงบประมาณไปกับการทำแคมเปญทางการตลาดเพื่อดึงผู้บริโภคให้เข้ามาใช้งานด้วย “ราคา” จึงอาจต้องอาศัยทางภาครัฐเข้ามาช่วย ทั้งในเรื่องงบประมาณที่จะเข้ามาสนับสนุน รวมถึงกลไกในการดึงดูดผู้ใช้งานเข้ามาในระบบด้วย

“ณ จังหวะนี้ ทุกฝ่ายควรต้องร่วมมือกัน เพราะโอกาสที่จะผลักดันให้สำเร็จได้มีมาก เป็นจังหวะที่ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องการแพลตฟอร์มแบบนี้”

ด้านนายสุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิปป๊อป จำกัด ผู้ให้บริการด้านระบบโลจิสติกส์ครบวงจร ภายใต้แบรนด์ SHIPPOP เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า โครงการไทยดีลิเวอรี่ถือเป็นโครงการช่วยชาติ ที่จะดึงสตาร์ตอัพมาช่วยร้านค้าระดับ SMEs โดยบริษัทเองจะแยกส่วนธุรกิจนี้ออกมาต่างหากเพื่อรองรับการให้บริการแบบออนดีมานด์โดยเฉพาะ ซึ่งได้สร้างเครือข่ายดีลิเวอรี่แล้ว 3,000 คนทั่วประเทศ และจะมีการเปิดรับพนักงานในส่วนของร้านอาหารต่าง ๆ ที่ว่างงานให้เข้ามาเป็นเครือข่ายออนดีมานด์ด้วย เพื่อร่วมกันช่วยร้านค้าที่ปัจจุบันมีปัญหาต้องเสียค่าคอมมิสชั่น (GP) ให้แพลตฟอร์มฟู้ดดีลิเวอรี่สูงมาก

“บริการของ SHIPPOP จะไปเสียบกับแพลตฟอร์มฟู้ดดีลิเวอรี่ คิดค่าบริการเริ่มต้น 30 บาท ระยะทาง 3 กิโลเมตร ฉะนั้นแต่ละร้านจะมีเฟซบุ๊ก มี LINE ของตัวเองเพื่อขายของ และยังสามารถเชื่อมกับแพลตฟอร์มดีลิเวอรี่ เพื่อขยายช่องทางสั่งซื้อแบบออนไลน์ในต้นทุนที่ถูกได้ เพราะตอนนี้ปัญหาของร้านอาหารที่ขยายไปช่องทางออนไลน์ คือ ถูกเก็บค่า GP สูงมาก หลายครั้งแพงกว่าค่าเช่าร้าน”

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อํานวยการใหญ่ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทางตลาดหลักทรัพย์ mai ได้พูดถึงโครงการนี้ไว้บ้าง ซึ่งหากสามารถช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้ ทางดีป้าก็ยินดีจะให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ

ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการโฮสเทล “Once Again” ซึ่งอยู่บริเวณย่านประตูผี-เสาชิงช้า ได้ลุกขึ้นมาทำแพลตฟอร์มดีลิเวอรี่ “Locall.bkk” ขึ้น เพื่อช่วยร้านอาหารในย่านชุมชนให้สามารถขายของผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยนางสาวเพียงพลอย จิตรปิยธรรม เจ้าของโฮสเทล “Once Again Hostel” เปิดเผยว่า แพลตฟอร์ม Locall.bkk จะเป็นตัวกลางในการจัดซื้ออาหารตามรายการที่ลูกค้าสั่ง แล้วจัดส่งให้ถึงปลายทาง เป็นโมเดลที่สามารถช่วยได้ทั้งร้านอาหารในชุมชนที่จะได้เพิ่มยอดขาย และกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากการโดนปิดกิจการ หรือมีการพักงานชั่วคราว เช่น พนักงานของโฮสเทลเอง, พนักงานโรงแรม ฯลฯ โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเข้ามาทำหน้าที่ส่งอาหาร

“Locall.bkk เชื่อว่าแนวคิดนี้สามารถที่จะนำไปใช้กับพื้นที่หรือย่านอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือร้านค้ารายย่อยให้เข้าถึงตลาดและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วย”
 

ที่มา: https://www.prachachat.net/ict/news-450480

สตาร์ตอัพไทยผนึกกำลังตลาด mai ผุดโครงการ “ไทยดีลิเวอรี่” ปั้น “แพลตฟอร์มไทยดีลิเวอรี่” ช่วยร้านอาหารฝ่าวิกฤตโควิด-19 หวังเป็นทางรอดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย และเป็นทางเลือกใหม่ไม่ต้องพึ่งแต่แอปพลิเคชั่นเจ้าดังที่เรียกเก็บค่าคอมมิสชั่นแพงลิบ 30-35% “SHIPPOP” ดึงเครือข่ายจัดส่งสินค้ากว่า 3,000 คนทั่วประเทศเสริมทีม ฟาก “ดีป้า” พร้อมควักเงินสนับสนุน

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้บรรดาร้านอาหารทั้งหลาย รวมถึงร้านเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้ากัน เพราะไม่สามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานที่ร้านได้ จึงต้องปรับตัวเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ และให้ลูกค้าซื้อกลับบ้านแทน จึงต้องมีบริการ “ดีลิเวอรี่” ซึ่งการขายผ่านแอปพลิเคชั่นดีลิเวอรี่เจ้าดังทั้งหลายต้องเสียค่าคอมมิสชั่นค่อนข้างสูงถึง 30-35% ทำให้เหลือกำไรไม่มากนัก

แหล่งข่าวในวงการสตาร์ตอัพไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ได้มีการรวมตัวกันของกลุ่มสตาร์ตอัพและผู้ประกอบการไทยหลายราย ในการหาทางแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 โดยได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์ mai ในการเป็นแกนนำผลักดันโครงการ “ไทยดีลิเวอรี่” แพลตฟอร์ม “ฟู้ดดีลิเวอรี่” ของคนไทยเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายช่องทางขายทางออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าคอมมิสชั่น (GP) ในอัตราที่สูงราว 30-35% เช่นในปัจจุบันที่ต้องจ่ายให้กับแพลตฟอร์มฟู้ดดีลิเวอรี่รายใหญ่จากต่างประเทศ

โดยจะเป็นการดึงจุดแข็งของสตาร์ตอัพแต่ละรายที่เข้ามาร่วมมือกัน อาทิ เครือข่ายขนส่งของ SHIPPOP, เครือข่ายการชำระเงินของเพย์โซลูชั่น และกำลังพยายามดึงอีกหลายสตาร์ตอัพ รวมถึงแหล่งเงินทุนเข้ามาสนับสนุน โดยเฉพาะแหล่งเงินทุนของภาครัฐที่เพิ่งเริ่มเข้าไปพูดคุยกับหลายรายแล้ว คาดว่าน่าจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากต้องการทำให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

“เมื่อต้องรับมือกับไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องล็อกดาวน์เมือง ส่งผลให้ช่องทางออนไลน์และดีลิเวอรี่เป็นช่องทางหารายได้ที่สำคัญ เห็นได้จากผู้ประกอบการทั้งอีคอมเมิร์ซและฟู้ดดีลิเวอรี่ทั้งหลายต่างมีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของผู้ประกอบการรายใหญ่มีกำลังพอที่จะขยายช่องทางของตัวเองได้ ต่างจากกลุ่ม SMEs ที่ถือเป็นฐานรากสำคัญ ถ้าไม่มีตัวช่วยก็จะอยู่รอดยาก เพราะต้องจ่ายค่า GP สูงมาก”

สำหรับโครงการนี้ ความยากอยู่ที่ปัจจุบันผู้บริโภคไทยคุ้นชินกับการใช้แพลตฟอร์มของเจ้าใหญ่ อย่างแกร็บ, ไลน์, ฟู้ดแพนด้า, เก็ท เป็นต้น ซึ่งต่างทุ่มงบประมาณไปกับการทำแคมเปญทางการตลาดเพื่อดึงผู้บริโภคให้เข้ามาใช้งานด้วย “ราคา” จึงอาจต้องอาศัยทางภาครัฐเข้ามาช่วย ทั้งในเรื่องงบประมาณที่จะเข้ามาสนับสนุน รวมถึงกลไกในการดึงดูดผู้ใช้งานเข้ามาในระบบด้วย

“ณ จังหวะนี้ ทุกฝ่ายควรต้องร่วมมือกัน เพราะโอกาสที่จะผลักดันให้สำเร็จได้มีมาก เป็นจังหวะที่ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องการแพลตฟอร์มแบบนี้”

ด้านนายสุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิปป๊อป จำกัด ผู้ให้บริการด้านระบบโลจิสติกส์ครบวงจร ภายใต้แบรนด์ SHIPPOP เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า โครงการไทยดีลิเวอรี่ถือเป็นโครงการช่วยชาติ ที่จะดึงสตาร์ตอัพมาช่วยร้านค้าระดับ SMEs โดยบริษัทเองจะแยกส่วนธุรกิจนี้ออกมาต่างหากเพื่อรองรับการให้บริการแบบออนดีมานด์โดยเฉพาะ ซึ่งได้สร้างเครือข่ายดีลิเวอรี่แล้ว 3,000 คนทั่วประเทศ และจะมีการเปิดรับพนักงานในส่วนของร้านอาหารต่าง ๆ ที่ว่างงานให้เข้ามาเป็นเครือข่ายออนดีมานด์ด้วย เพื่อร่วมกันช่วยร้านค้าที่ปัจจุบันมีปัญหาต้องเสียค่าคอมมิสชั่น (GP) ให้แพลตฟอร์มฟู้ดดีลิเวอรี่สูงมาก

“บริการของ SHIPPOP จะไปเสียบกับแพลตฟอร์มฟู้ดดีลิเวอรี่ คิดค่าบริการเริ่มต้น 30 บาท ระยะทาง 3 กิโลเมตร ฉะนั้นแต่ละร้านจะมีเฟซบุ๊ก มี LINE ของตัวเองเพื่อขายของ และยังสามารถเชื่อมกับแพลตฟอร์มดีลิเวอรี่ เพื่อขยายช่องทางสั่งซื้อแบบออนไลน์ในต้นทุนที่ถูกได้ เพราะตอนนี้ปัญหาของร้านอาหารที่ขยายไปช่องทางออนไลน์ คือ ถูกเก็บค่า GP สูงมาก หลายครั้งแพงกว่าค่าเช่าร้าน”

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อํานวยการใหญ่ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทางตลาดหลักทรัพย์ mai ได้พูดถึงโครงการนี้ไว้บ้าง ซึ่งหากสามารถช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้ ทางดีป้าก็ยินดีจะให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ

ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการโฮสเทล “Once Again” ซึ่งอยู่บริเวณย่านประตูผี-เสาชิงช้า ได้ลุกขึ้นมาทำแพลตฟอร์มดีลิเวอรี่ “Locall.bkk” ขึ้น เพื่อช่วยร้านอาหารในย่านชุมชนให้สามารถขายของผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยนางสาวเพียงพลอย จิตรปิยธรรม เจ้าของโฮสเทล “Once Again Hostel” เปิดเผยว่า แพลตฟอร์ม Locall.bkk จะเป็นตัวกลางในการจัดซื้ออาหารตามรายการที่ลูกค้าสั่ง แล้วจัดส่งให้ถึงปลายทาง เป็นโมเดลที่สามารถช่วยได้ทั้งร้านอาหารในชุมชนที่จะได้เพิ่มยอดขาย และกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากการโดนปิดกิจการ หรือมีการพักงานชั่วคราว เช่น พนักงานของโฮสเทลเอง, พนักงานโรงแรม ฯลฯ โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเข้ามาทำหน้าที่ส่งอาหาร

“Locall.bkk เชื่อว่าแนวคิดนี้สามารถที่จะนำไปใช้กับพื้นที่หรือย่านอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือร้านค้ารายย่อยให้เข้าถึงตลาดและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วย”
 

ที่มา: https://www.prachachat.net/ict/news-450480