ดันไทยชิงตลาดโลกฮาลาล 2 ล้านล้านดอลลาร์


เกษตรฯ ยกระดับขับเคลื่อนส่งเสริมสินค้ามาตรฐาน “ฮาลาล” ดันไทยสู่ประเทศส่งออกอาหารท็อปเทนของโลกมุ่งตลาด2ล้านล้านดอลลาร์ พร้อมเปิดกลยุทธ์ระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดนใต้เป็นฮับฮาลาลโลก

วันที่ 9 พฤษภาคม 2563 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า ตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่วางเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับท็อปเทนของโลกนั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล”ขึ้นโดยมีการประชุมทางไกลต่อเนื่องทุกสัปดาห์ล่าสุดครั้งที่3เมื่อวันที่ 7พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา

 

 

โดยมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ 4 คณะ คือ 1. คณะอนุกรรมการจัดทำวิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” 2. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการค้าสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล”  3. คณะอนุกรรรมการส่งเสริมการผลิตและการลงทุนเกี่ยวกับผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” 4. คณะอนุกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลมีรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานโดยคำนึงถึงพื้นที่ชายแดนภาคใต้เป็นหลัก

 

 

พร้อมกันนี้ยังได้หารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายพื้นที่และยกระดับการให้สิทธิประโยชน์การลงทุนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และความเป็นไปได้ในการจัดงานแสดงสินค้าฮาลาล (Halal Expo) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อสถานการณ์โควิด19คลี่คลายรวมทั้งการสนับสนุนเขตอุตสาหกรรมฮาลาลและการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง5จังหวัดภาคใต้กับ5รัฐภาคเหนือของมาเลเซียตลอดจนกรอบความร่วมมืออาเซียนและIMT-GTคือไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจสินค้าและบริการฮาลาล(พ.ศ. 2559-2563) มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันอาหาร และ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.)  ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกันวางระบบและให้การรับรองฮาลาลผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อย(SME)และวิสาหกิจชุมชนกว่า 500 กิจการ และให้ความรู้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจรับรองและประชาชน จำนวนกว่า 6,000 คน

 

 

“การวางโครงสร้างและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเปิดโอกาสในการกระจายสินค้าไปถึงมือประชากรชาวมุสลิมกว่า 1,960  ล้านคนซึ่งอยู่ในประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation – OIC)จำนวน 57 ประเทศ โดยได้ประสานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (TLSP) ให้วางระบบและร่างผัง Global Landscape ด้านโลจิสติกส์ให้ครอบคลุมการจัดการคลังสินค้า รวมถึงการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าไปยังประเทศปลายทางต่างๆ ให้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สินค้าฮาลาลเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคไทย โดยจะมีการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับความต้องการผู้บริโภค อาทิ การสร้างคลังสินค้าฮาลาลหรือการสร้างศูนย์บริหารจัดการโลจิสติกส์ฮาลาลเพื่อเชื่อมโยงไปทั่วโลก โดยเบื้องต้นได้หารือกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)ในการจัดหาเครื่องบินขนส่งสินค้าเที่ยวละประมาณ 100 ตัน เพื่อส่งออกสินค้าไปทั่วโลกโดยมีมูลค่าตลาดฮาลาลสูงถึง2ล้านล้านดอลลาร์ซึ่งมีโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง”

 

 

“พร้อมกันนี้ ได้ขอให้ผู้แทนหน่วยงานภายใต้กระทรวงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องและสถาบันอาหารดำเนินการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิมที่นิยมบริโภคอาหารฮาลาลเพื่อขยายขอบข่ายการดำเนินงานในอนาคตให้ครอบคลุมประชากรที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศ OIC โดยไปศึกษาว่าไทยจะส่งเสริมการเกษตรเพื่อแปรรูปส่งออกอาหารฮาลาลประเภทใดไปยังกลุ่มประเทศนี้ รวมถึงมีประเทศคู่แข่งและมีส่วนแบ่งตลาดอย่างไร โดยนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับระบบโลจิสติกส์ในปัจจุบัน เพื่อประเมินศักยภาพในการแข่งขันของไทย และไทยสามารถนำเข้าสินค้าอะไรจากประเทศกลุ่มนี้ได้”

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับประเด็นการตรวจรับรองระบบงานด้านฮาลาลของสินค้าอาหารไทยที่ส่งออกไป UAE ที่ผ่านมาสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)ร่วมกับกรมปศุสัตว์และสำนักงานคณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทย (สกอท.) ได้หารือกับหน่วยงาน Emirates Authority for Standardization and Metrology (ESMA) เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่ไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลไปยัง UAE ได้ โดยได้เจรจาจนประสบความสำเร็จ ทำให้ UAE ให้การรับรองระบบงานฮาลาลของ สกอท. ส่งผลให้ไทยสามารถส่งสินค้าฮาลาล โดยเฉพาะเนื้อไก่แช่เย็น/แช่แข็ง รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของสัตว์ปีกไปยัง UAE ได้แล้ว

 

 

“นอกจากนี้ หน่วยงาน ESMA ได้เสนอให้มกอช.พัฒนาศักยภาพให้สามารถตรวจรับรองระบบงานสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) ได้ในอนาคต เป็นการลดขั้นตอน และเกิดประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าฮาลาลไทยไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และประเทศมุสลิมอื่นๆ ในอนาคต”

 

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/433577?as=

เกษตรฯ ยกระดับขับเคลื่อนส่งเสริมสินค้ามาตรฐาน “ฮาลาล” ดันไทยสู่ประเทศส่งออกอาหารท็อปเทนของโลกมุ่งตลาด2ล้านล้านดอลลาร์ พร้อมเปิดกลยุทธ์ระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดนใต้เป็นฮับฮาลาลโลก

วันที่ 9 พฤษภาคม 2563 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า ตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่วางเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับท็อปเทนของโลกนั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล”ขึ้นโดยมีการประชุมทางไกลต่อเนื่องทุกสัปดาห์ล่าสุดครั้งที่3เมื่อวันที่ 7พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา

 

 

โดยมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ 4 คณะ คือ 1. คณะอนุกรรมการจัดทำวิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” 2. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการค้าสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล”  3. คณะอนุกรรรมการส่งเสริมการผลิตและการลงทุนเกี่ยวกับผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” 4. คณะอนุกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลมีรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานโดยคำนึงถึงพื้นที่ชายแดนภาคใต้เป็นหลัก

 

 

พร้อมกันนี้ยังได้หารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายพื้นที่และยกระดับการให้สิทธิประโยชน์การลงทุนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และความเป็นไปได้ในการจัดงานแสดงสินค้าฮาลาล (Halal Expo) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อสถานการณ์โควิด19คลี่คลายรวมทั้งการสนับสนุนเขตอุตสาหกรรมฮาลาลและการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง5จังหวัดภาคใต้กับ5รัฐภาคเหนือของมาเลเซียตลอดจนกรอบความร่วมมืออาเซียนและIMT-GTคือไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจสินค้าและบริการฮาลาล(พ.ศ. 2559-2563) มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันอาหาร และ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.)  ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกันวางระบบและให้การรับรองฮาลาลผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อย(SME)และวิสาหกิจชุมชนกว่า 500 กิจการ และให้ความรู้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจรับรองและประชาชน จำนวนกว่า 6,000 คน

 

 

“การวางโครงสร้างและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเปิดโอกาสในการกระจายสินค้าไปถึงมือประชากรชาวมุสลิมกว่า 1,960  ล้านคนซึ่งอยู่ในประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation – OIC)จำนวน 57 ประเทศ โดยได้ประสานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (TLSP) ให้วางระบบและร่างผัง Global Landscape ด้านโลจิสติกส์ให้ครอบคลุมการจัดการคลังสินค้า รวมถึงการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าไปยังประเทศปลายทางต่างๆ ให้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สินค้าฮาลาลเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคไทย โดยจะมีการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับความต้องการผู้บริโภค อาทิ การสร้างคลังสินค้าฮาลาลหรือการสร้างศูนย์บริหารจัดการโลจิสติกส์ฮาลาลเพื่อเชื่อมโยงไปทั่วโลก โดยเบื้องต้นได้หารือกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)ในการจัดหาเครื่องบินขนส่งสินค้าเที่ยวละประมาณ 100 ตัน เพื่อส่งออกสินค้าไปทั่วโลกโดยมีมูลค่าตลาดฮาลาลสูงถึง2ล้านล้านดอลลาร์ซึ่งมีโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง”

 

 

“พร้อมกันนี้ ได้ขอให้ผู้แทนหน่วยงานภายใต้กระทรวงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องและสถาบันอาหารดำเนินการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิมที่นิยมบริโภคอาหารฮาลาลเพื่อขยายขอบข่ายการดำเนินงานในอนาคตให้ครอบคลุมประชากรที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศ OIC โดยไปศึกษาว่าไทยจะส่งเสริมการเกษตรเพื่อแปรรูปส่งออกอาหารฮาลาลประเภทใดไปยังกลุ่มประเทศนี้ รวมถึงมีประเทศคู่แข่งและมีส่วนแบ่งตลาดอย่างไร โดยนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับระบบโลจิสติกส์ในปัจจุบัน เพื่อประเมินศักยภาพในการแข่งขันของไทย และไทยสามารถนำเข้าสินค้าอะไรจากประเทศกลุ่มนี้ได้”

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับประเด็นการตรวจรับรองระบบงานด้านฮาลาลของสินค้าอาหารไทยที่ส่งออกไป UAE ที่ผ่านมาสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)ร่วมกับกรมปศุสัตว์และสำนักงานคณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทย (สกอท.) ได้หารือกับหน่วยงาน Emirates Authority for Standardization and Metrology (ESMA) เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่ไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลไปยัง UAE ได้ โดยได้เจรจาจนประสบความสำเร็จ ทำให้ UAE ให้การรับรองระบบงานฮาลาลของ สกอท. ส่งผลให้ไทยสามารถส่งสินค้าฮาลาล โดยเฉพาะเนื้อไก่แช่เย็น/แช่แข็ง รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของสัตว์ปีกไปยัง UAE ได้แล้ว

 

 

“นอกจากนี้ หน่วยงาน ESMA ได้เสนอให้มกอช.พัฒนาศักยภาพให้สามารถตรวจรับรองระบบงานสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) ได้ในอนาคต เป็นการลดขั้นตอน และเกิดประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าฮาลาลไทยไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และประเทศมุสลิมอื่นๆ ในอนาคต”

 

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/433577?as=