กทท. ผนึก ท่าเรืออินเดีย เปิดฉากขนส่งทางน้ำผ่านทะเลอันดามัน


 

ดันท่าเรือระนองเป็นเกทเวย์โลจิสติกส์ การขนส่งทางน้ำไทย-อินเดีย สนับสนุนเศรษฐกิจการค้าไทยในกลุ่มประเทศ BIMSTEC มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) (Lt.JK.Kamolsak Promprayoon Director general Port Authority of Thailand) เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างท่าเรือระนอง และท่าเรือกฤษณา ปัทนัม ประเทศอินเดีย ว่า การ MOU ในครั้งนี้ ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ภายหลังการเดินทางไปยังประเทศอินเดีย เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว พร้อมมีนโยบายให้ไทยสนับสนุนการค้ากับกลุ่มประเทศ BIMSTEC ที่ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา และไทย สอดคล้องกับไทยที่จะเชื่อมต่อการค้าผ่านทะเลอันดามันกับกลุ่มประเทศทางด้านตะวันตก

ทั้งนี้ ในปี 2561 ที่ผ่านมา กทท. มีรายได้จากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท โดยเฉพาะกับประเทศอินเดีย มีมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน ภายหลังความร่วมมือระหว่างท่าเรือระนอง กับท่าเรือกฤษณา ปัทนัม ประเทศอินเดียนั้น จะทำให้การขนส่งสินค้าทางเรือเหลือระยะเวลาเพียง 7 วัน จากเดินที่ต้องใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ (10 เดือน) ท่าเรือระนอง มีรายได้ 29 ล้านบาท และเชื่อว่าจะมีรายได้ 30 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ โดยคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน หรือส่งผลให้ท่าเรือระนองมีการเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9-10% จากเดิมในปี 2561 เติบโต 8%

เรือโท กมลศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของท่าเรือระนองนั้น อยู่ระหว่างการปรับปรุงและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้า จากปัจจุบันรองรับได้ 7.8 หมื่นทีอียู/ปี โดยหากในระยะแรกพัฒนาท่าเรือแล้วเสร็จ ภายในปี 2563 จะสามารองรับได้ประมาณ 3 แสนทีอียู/ปี และเป็น 5 แสนทีอียู/ปี ภายในปี 2565 ซึ่งจะเท่ากับขีดความสามารถของท่าเรือกฤษณา ปัทนัม ประเทศอินเดีย

สำหรับความร่วมมือดังกล่าวนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางด้านการบริหารจัดการท่าเรือ การปฏิบัติการภายในท่าเรือ ส่งเสริมงานด้านการตลาดการลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการท่าเรือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารการเชื่อมโยงเครือข่ายของท่าเรือ อุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่าเรือ

 

ด้าน Ms.Vinita Venkatesh Director of Krishnapatnam Port กล่าวว่า การเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งสินค้าทางน้ำของทั้ง 2 ประเทศผ่านอ่าวเบงกอล จะช่วยลดต้นทุนขนส่งไปได้มาก เนื่องจากระยะทางที่สั้นลงถึง 50% จาก 15 ชั่วโมงเหลือเพียง 7 ชั่วโมง ซึ่งเดิมท่าเรือ Krishnapatnam มีการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพอยู่แล้วโดยอ้อมผ่านช่องแคบในประเทศมาเลเซีย ทว่าการเชื่อมต่อท่าเรืออินเดียกับท่าเรือระนองจะช่วยย่นระยะเดินทางไปได้มากไม่ต้องผ่านมาเลเซียอีกต่อไป

ขณะที่การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (PAT)นั้น จะร่วมมือกันพัฒนาองค์ความรู้ในการเชื่อมต่อสินค้าระหว่างกันโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่มีอยู่ให้มากที่สุด สิ่งที่ต้องทำหลังจากนี้ คือ โน้มน้าวใจลูกค้าและกลุ่มผู้ขนส่งระหว่าง 2 ประเทศให้มาใช้ท่าเรือระนองและท่าเรือ Krishnapatnam มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าตลอดจนเป็นเกทเวย์ใหม่ของโลจิสติกส์ระหว่างไทย-อินเดีย

พร้อมกล่าวเสริมว่า การเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งสินค้าทางน้ำของทั้งสองประเทศผ่านอ่าวเบงกอลจะช่วยลดต้นทุนขนส่งไปได้มาก เนื่องจากระยะทางที่สั้นลงถึง 50% จาก 15 ชั่วโมงเหลือเพียง 7 ชั่วโมง ซึ่งเดิมท่าเรือ Krishnapatnam มีการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพอยู่แล้วโดยอ้อมผ่านช่องแคบในประเทศมาเลเซีย ทว่าการเชื่อมต่อท่าเรืออินเดียกับท่าเรือระนองจะช่วยย่นระยะเดินทางไปได้มากไม่ต้องผ่านมาเลเซียอีกต่อไป

ขณะที่การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (PAT) นั้นจะร่วมมือกันพัฒนาองค์ความรู้ในการเชื่อมต่อสินค้าระหว่างกันโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่มีอยู่ให้มากที่สุด สิ่งที่ต้องทำหลังจากนี้คือโน้มน้าวใจลูกค้าและกลุ่มผู้ขนส่งระหว่างสองประเทศให้มาใช้ท่าเรือระนองและท่าเรือ Krishnapatnam มากขึ้นเพื่อลผต้นทุนในการขนส่งสินค้าตลอดจนเป็นเกทเวย์ใหม่ของโลจิสติกส์ระหว่างไทย-อินเดีย

 

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/597788

 

ดันท่าเรือระนองเป็นเกทเวย์โลจิสติกส์ การขนส่งทางน้ำไทย-อินเดีย สนับสนุนเศรษฐกิจการค้าไทยในกลุ่มประเทศ BIMSTEC มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) (Lt.JK.Kamolsak Promprayoon Director general Port Authority of Thailand) เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างท่าเรือระนอง และท่าเรือกฤษณา ปัทนัม ประเทศอินเดีย ว่า การ MOU ในครั้งนี้ ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ภายหลังการเดินทางไปยังประเทศอินเดีย เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว พร้อมมีนโยบายให้ไทยสนับสนุนการค้ากับกลุ่มประเทศ BIMSTEC ที่ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา และไทย สอดคล้องกับไทยที่จะเชื่อมต่อการค้าผ่านทะเลอันดามันกับกลุ่มประเทศทางด้านตะวันตก

ทั้งนี้ ในปี 2561 ที่ผ่านมา กทท. มีรายได้จากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท โดยเฉพาะกับประเทศอินเดีย มีมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน ภายหลังความร่วมมือระหว่างท่าเรือระนอง กับท่าเรือกฤษณา ปัทนัม ประเทศอินเดียนั้น จะทำให้การขนส่งสินค้าทางเรือเหลือระยะเวลาเพียง 7 วัน จากเดินที่ต้องใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ (10 เดือน) ท่าเรือระนอง มีรายได้ 29 ล้านบาท และเชื่อว่าจะมีรายได้ 30 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ โดยคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน หรือส่งผลให้ท่าเรือระนองมีการเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9-10% จากเดิมในปี 2561 เติบโต 8%

เรือโท กมลศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของท่าเรือระนองนั้น อยู่ระหว่างการปรับปรุงและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้า จากปัจจุบันรองรับได้ 7.8 หมื่นทีอียู/ปี โดยหากในระยะแรกพัฒนาท่าเรือแล้วเสร็จ ภายในปี 2563 จะสามารองรับได้ประมาณ 3 แสนทีอียู/ปี และเป็น 5 แสนทีอียู/ปี ภายในปี 2565 ซึ่งจะเท่ากับขีดความสามารถของท่าเรือกฤษณา ปัทนัม ประเทศอินเดีย

สำหรับความร่วมมือดังกล่าวนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางด้านการบริหารจัดการท่าเรือ การปฏิบัติการภายในท่าเรือ ส่งเสริมงานด้านการตลาดการลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการท่าเรือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารการเชื่อมโยงเครือข่ายของท่าเรือ อุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่าเรือ

 

ด้าน Ms.Vinita Venkatesh Director of Krishnapatnam Port กล่าวว่า การเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งสินค้าทางน้ำของทั้ง 2 ประเทศผ่านอ่าวเบงกอล จะช่วยลดต้นทุนขนส่งไปได้มาก เนื่องจากระยะทางที่สั้นลงถึง 50% จาก 15 ชั่วโมงเหลือเพียง 7 ชั่วโมง ซึ่งเดิมท่าเรือ Krishnapatnam มีการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพอยู่แล้วโดยอ้อมผ่านช่องแคบในประเทศมาเลเซีย ทว่าการเชื่อมต่อท่าเรืออินเดียกับท่าเรือระนองจะช่วยย่นระยะเดินทางไปได้มากไม่ต้องผ่านมาเลเซียอีกต่อไป

ขณะที่การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (PAT)นั้น จะร่วมมือกันพัฒนาองค์ความรู้ในการเชื่อมต่อสินค้าระหว่างกันโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่มีอยู่ให้มากที่สุด สิ่งที่ต้องทำหลังจากนี้ คือ โน้มน้าวใจลูกค้าและกลุ่มผู้ขนส่งระหว่าง 2 ประเทศให้มาใช้ท่าเรือระนองและท่าเรือ Krishnapatnam มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าตลอดจนเป็นเกทเวย์ใหม่ของโลจิสติกส์ระหว่างไทย-อินเดีย

พร้อมกล่าวเสริมว่า การเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งสินค้าทางน้ำของทั้งสองประเทศผ่านอ่าวเบงกอลจะช่วยลดต้นทุนขนส่งไปได้มาก เนื่องจากระยะทางที่สั้นลงถึง 50% จาก 15 ชั่วโมงเหลือเพียง 7 ชั่วโมง ซึ่งเดิมท่าเรือ Krishnapatnam มีการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพอยู่แล้วโดยอ้อมผ่านช่องแคบในประเทศมาเลเซีย ทว่าการเชื่อมต่อท่าเรืออินเดียกับท่าเรือระนองจะช่วยย่นระยะเดินทางไปได้มากไม่ต้องผ่านมาเลเซียอีกต่อไป

ขณะที่การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (PAT) นั้นจะร่วมมือกันพัฒนาองค์ความรู้ในการเชื่อมต่อสินค้าระหว่างกันโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่มีอยู่ให้มากที่สุด สิ่งที่ต้องทำหลังจากนี้คือโน้มน้าวใจลูกค้าและกลุ่มผู้ขนส่งระหว่างสองประเทศให้มาใช้ท่าเรือระนองและท่าเรือ Krishnapatnam มากขึ้นเพื่อลผต้นทุนในการขนส่งสินค้าตลอดจนเป็นเกทเวย์ใหม่ของโลจิสติกส์ระหว่างไทย-อินเดีย

 

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/597788