Container มีกี่ประเภท?

Container มีกี่ประเภท?
Container มีกี่ประเภท?

       

 

           ปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์นับเป็นหัวใจสำคัญของวงการโลจิสติกส์ เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยโครงสร้างที่แข็งแรงสามารถปกป้องสินค้าได้ดี และมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ตู้คอนเทนเนอร์ยังเป็นตัวแปรสำคัญ ในการคำนวณต้นทุนขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการสามารถคำนวณต้นทุนในการขนส่งได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากพื้นที่ของตู้คอนเทนเนอร์มีขนาดความกว้าง ความสูงชัดเจน การคำนวนพื้นที่การบรรจุสินค้าจึงทำได้ง่ายและกำหนดต้นทุนได้เที่ยงตรงมากขึ้น   การขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ สามารถขนส่งได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น การขนส่งทางเรือ    การขนส่งทางรางและการขนส่งทางอากาศ และอีกช่องทางคือการขนส่งด้วยรถบรรทุก แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการขนส่งตู้ทางเรือ เนื่องจากมีค่าขนส่งถูกและสามารถขนส่งสินค้าได้จำนวนมาก โดยประเภทของ ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการขนส่งทางเรือมี ดังนี้

1. Dry Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐานที่เหมาะสำหรับสินค้าทั่วไป ที่ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิในการขนส่งสินค้าและยังเป็นตู้คอนเทนเนอร์ประเภทที่ถูกใช้งานมากที่สุด มีหลายขนาด ทนทานสูงจึงเหมาะกับการขนส่งสินค้าที่มีลักษณะแห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า เป็นต้น 

2. Reefer Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็นและมีที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้า อีกทั้งยังสามารถรักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนเทนเนอร์ให้คงที่ได้ตลอดการขนส่งสินค้า จึงเหมาะสำหรับสินค้าประเภท เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลไม้ ไอศกรีม เป็นต้น

3. Open Top Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ออกแบบมาให้ด้านบนเปิดโล่ง ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับใช้ในการวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษ ไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูตู้ได้ เช่น เครื่องจักร ท่อชนิดต่างๆ วัสดุก่อสร้าง หรือ ยานพาหนะที่มีลักษณะสูงเป็นพิเศษ

4. Flat Rack Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ เปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง มีฐานพื้นสำหรับใส่สินค้าที่มีขนาดใหญ่ กว้างหรือสูงเป็นพิเศษ เช่น เครื่องจักร ท่อชนิดต่างๆ วัสดุก่อสร้าง หรือยานพาหนะที่มีลักษณะกว้างยาวสูงเป็นพิเศษ

5. ISO Tank Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บรรจุของเหลวโดยเฉพาะ มีโครงสร้างสำคัญคือ พื้นตู้กับเสายึดทั้ง 4 มุม บนพื้นจะติดตั้งแท่งเหล็กกลมยาวไว้อย่างถาวร ซึ่งทำให้สามารถวางซ้อนได้และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย เหมาะสำหรับสินค้าประเภทของเหลว เช่น เครื่องดื่ม อาหาร น้ำมัน เคมีภัณฑ์

6. Ventilated Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีลักษณะเหมือนกับตู้ธรรมดา แต่มีช่องระบายอากาศอยู่บริเวณตู้เหมาะสำหรับสินค้า ที่ต้องการการระบายอากาศ โดยส่วนใหญ่มักใช้กับสินค้าทางการเกษตร เช่น เมล็ดโกโก้ เมล็ดกาแฟ ผลไม้บางชนิด

          ปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์นับเป็นหัวใจสำคัญของวงการโลจิสติกส์ เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยโครงสร้างที่แข็งแรงสามารถปกป้องสินค้าได้ดี และมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ตู้คอนเทนเนอร์ยังเป็นตัวแปรสำคัญ ในการคำนวณต้นทุนขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการสามารถคำนวณต้นทุนในการขนส่งได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากพื้นที่ของตู้คอนเทนเนอร์มีขนาดความกว้าง ความสูงชัดเจน การคำนวนพื้นที่การบรรจุสินค้าจึงทำได้ง่ายและกำหนดต้นทุนได้เที่ยงตรงมากขึ้น   การขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ สามารถขนส่งได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น การขนส่งทางเรือ    การขนส่งทางรางและการขนส่งทางอากาศ และอีกช่องทางคือการขนส่งด้วยรถบรรทุก แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการขนส่งตู้ทางเรือ เนื่องจากมีค่าขนส่งถูกและสามารถขนส่งสินค้าได้จำนวนมาก โดยประเภทของ ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการขนส่งทางเรือมี ดังนี้

1. Dry Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐานที่เหมาะสำหรับสินค้าทั่วไป ที่ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิในการขนส่งสินค้าและยังเป็นตู้คอนเทนเนอร์ประเภทที่ถูกใช้งานมากที่สุด มีหลายขนาด ทนทานสูงจึงเหมาะกับการขนส่งสินค้าที่มีลักษณะแห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า เป็นต้น 

2. Reefer Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็นและมีที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้า อีกทั้งยังสามารถรักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนเทนเนอร์ให้คงที่ได้ตลอดการขนส่งสินค้า จึงเหมาะสำหรับสินค้าประเภท เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลไม้ ไอศกรีม เป็นต้น

3. Open Top Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ออกแบบมาให้ด้านบนเปิดโล่ง ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับใช้ในการวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษ ไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูตู้ได้ เช่น เครื่องจักร ท่อชนิดต่างๆ วัสดุก่อสร้าง หรือ ยานพาหนะที่มีลักษณะสูงเป็นพิเศษ

4. Flat Rack Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ เปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง มีฐานพื้นสำหรับใส่สินค้าที่มีขนาดใหญ่ กว้างหรือสูงเป็นพิเศษ เช่น เครื่องจักร ท่อชนิดต่างๆ วัสดุก่อสร้าง หรือยานพาหนะที่มีลักษณะกว้างยาวสูงเป็นพิเศษ

5. ISO Tank Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บรรจุของเหลวโดยเฉพาะ มีโครงสร้างสำคัญคือ พื้นตู้กับเสายึดทั้ง 4 มุม บนพื้นจะติดตั้งแท่งเหล็กกลมยาวไว้อย่างถาวร ซึ่งทำให้สามารถวางซ้อนได้และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย เหมาะสำหรับสินค้าประเภทของเหลว เช่น เครื่องดื่ม อาหาร น้ำมัน เคมีภัณฑ์

6. Ventilated Container 
          เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีลักษณะเหมือนกับตู้ธรรมดา แต่มีช่องระบายอากาศอยู่บริเวณตู้เหมาะสำหรับสินค้า ที่ต้องการการระบายอากาศ โดยส่วนใหญ่มักใช้กับสินค้าทางการเกษตร เช่น เมล็ดโกโก้ เมล็ดกาแฟ ผลไม้บางชนิด