ด่านส่งออกและนำเข้าผลไม้สำคัญทางภาคเหนือ

ด่านส่งออกและนำเข้าผลไม้สำคัญทางภาคเหนือ

          ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าผลไม้ที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก โดยอย่างยิ่งในช่วงฤดูกาลออกผลผลิตผลไม้ที่สำคัญเช่นนี้ จึงเป็นความต้องการอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ดังนั้นการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วระหว่างไทยกับจีนจึงเป็นเส้นทางที่สำคัญ โดยมีด่านและเส้นทางการขนส่งสินค้า ดังนี้
1.ด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เส้นทาง R3A เป็นเส้นทางที่เชื่อมกันระหว่าง ไทย-ลาว-จีน เข้าด้วยกัน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่  
- เส้นทางที่ 1 ทางบก : ด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) -> ด่านห้วยทราย(แขวงบ่อแก้ว-เวียงคูคา-หลวงน้ำกา)-ด่านบ่อเต็น (สปป.ลาว) -> มณฑลยูนาน (ด่านบ่อหาน- เมืองเชียงรุ้ง-คุณหมิง)
- เส้นทางที่ 2 ทางน้ำ การขนส่งสินค้าผ่านทางด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) - ด่านห้วยทราย - ท่าเรือกวนเหล่ย โดยเมื่อถึงจุดหมายแล้วก็จะนำสินค้ากระจายไปยังมณฑลฉงชิ่ง(重庆市)มณฑลเฉินตู(成都市)และมณฑลเสฉวน(四川省) 

2.ด่านแม่สาย (จังหวัดเชียงราย) ใช้เส้นทาง R3B โดยเส้นทางหลักจะผ่านไทย - พม่า - จีน เส้นทางนี้จะเดินทางจากด่านแม่สาย เพื่อเข้าสู่ด่านท่าขี้เหล็ก (ประเทศพม่า) เพื่อมุ่งตรงไปยังด่านเมืองเชียงตุง ผ่านจุดข้ามแดนถาวร เข้าสู่เหม่งหยาง หรือเชียงรุ้ง (ประเทศจีน) ไปบรรจบกับ R3A ที่คุณหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมลฑลยูนนาน ประเทศจีน ถนนนสองเส้นที่บรรจบกันนี้เรียกว่า “สี่เหลี่ยมมรกต”

3.ด่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทยหรือเส้นทาง R9 เป็นด่านทางการค้าผลไม้ที่สำคัญอีกเช่นกัน โดยเส้นทางนี้จะผ่านด่านไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางที่ 1 ด่านมุกดาหาร -> ด่านสะหวันนะเขต - ด่านสะหวัน -> ด่านลาวบาว - กรุงฮานอย - ด่านหูหงิ - ด่านโหยวอี้กวน -> หนานหนิง แยกอีกหนึ่งเส้นทางไปโดยรถไฟไปสถานีผิงเสียง - หนานหนิง 
- เส้นทางที่ 2 ด่านมุกดาหาร - สะหวันนะเขต (สปป.ลาว) - ด่านสักวัน - ด่านลาวบาว - ด่านหม่องก๋อย (กว่างมิงห์ เวียดนาม) - ด้านตงชิง (เมืองฝางเชิงก่าง) ที่เป็นเส้นทางใหม่ขนส่งผลไม้ไทยสู่จีนหลังจากนั้นก็จะไปสิ้นสุดที่เมืองหนางหนิงและกระจายสินค้าไปยัง มณฑลเซี่ยเหมิน(厦门市)มณฑลกว่างโจว(广州市)  ปักกิ่ง ( 北京市) เซี่ยงไฮ้(上海市)และ มณฑลหูหนาน ( 湖南省)

4.ด่านนครพนม หรือ เส้นทาง R12 เส้นทาง R12 ผ่านเส้นทางของ 4 ประเทศหลัก คือ ไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางที่ 1 ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านนาพาว - ด่านจาลอ (เวียดนาม) - ด่านหม่องก๋าย (กว่างมิงห์ เวียดนาม) - ด่านตงชิง (เมืองฝางเชิงกว่าง) และเข้าสู่เมืองหนานหนิง 
- เส้นทางที่ 2 ด่านมุกดาหาร -> ด่านท่าแขก (คำม่วน) - ด่านนาพาว -> ด่านจาลอ - ด่านหูหงิ (หล่างเซิง) -> ด่านโหยวอี้กวน 
เมื่อสินค้าเข้าสู่เมืองหนานหนิงก็จะกระจายสินค้าไปยังมณฑลเซี่ยเหมิน (厦门市)มณฑลกว่างโจว( 广州市) ปักกิ่ง ( 北京市) เซี่ยงไฮ้(上海市)และ มณฑลหูหนาน ( 湖南省)

          ถนนทั้งสี่สายนี้เป็นเส้นทางหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อประเทศไทย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่กระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและชาวสวนในแต่ละปี เป็นเม็ดเงินมหาศาลอีกด้วย
 

          ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าผลไม้ที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก โดยอย่างยิ่งในช่วงฤดูกาลออกผลผลิตผลไม้ที่สำคัญเช่นนี้ จึงเป็นความต้องการอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ดังนั้นการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วระหว่างไทยกับจีนจึงเป็นเส้นทางที่สำคัญ โดยมีด่านและเส้นทางการขนส่งสินค้า ดังนี้
1.ด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เส้นทาง R3A เป็นเส้นทางที่เชื่อมกันระหว่าง ไทย-ลาว-จีน เข้าด้วยกัน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่  
- เส้นทางที่ 1 ทางบก : ด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) -> ด่านห้วยทราย(แขวงบ่อแก้ว-เวียงคูคา-หลวงน้ำกา)-ด่านบ่อเต็น (สปป.ลาว) -> มณฑลยูนาน (ด่านบ่อหาน- เมืองเชียงรุ้ง-คุณหมิง)
- เส้นทางที่ 2 ทางน้ำ การขนส่งสินค้าผ่านทางด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) - ด่านห้วยทราย - ท่าเรือกวนเหล่ย โดยเมื่อถึงจุดหมายแล้วก็จะนำสินค้ากระจายไปยังมณฑลฉงชิ่ง(重庆市)มณฑลเฉินตู(成都市)และมณฑลเสฉวน(四川省) 

2.ด่านแม่สาย (จังหวัดเชียงราย) ใช้เส้นทาง R3B โดยเส้นทางหลักจะผ่านไทย - พม่า - จีน เส้นทางนี้จะเดินทางจากด่านแม่สาย เพื่อเข้าสู่ด่านท่าขี้เหล็ก (ประเทศพม่า) เพื่อมุ่งตรงไปยังด่านเมืองเชียงตุง ผ่านจุดข้ามแดนถาวร เข้าสู่เหม่งหยาง หรือเชียงรุ้ง (ประเทศจีน) ไปบรรจบกับ R3A ที่คุณหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมลฑลยูนนาน ประเทศจีน ถนนนสองเส้นที่บรรจบกันนี้เรียกว่า “สี่เหลี่ยมมรกต”

3.ด่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทยหรือเส้นทาง R9 เป็นด่านทางการค้าผลไม้ที่สำคัญอีกเช่นกัน โดยเส้นทางนี้จะผ่านด่านไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางที่ 1 ด่านมุกดาหาร -> ด่านสะหวันนะเขต - ด่านสะหวัน -> ด่านลาวบาว - กรุงฮานอย - ด่านหูหงิ - ด่านโหยวอี้กวน -> หนานหนิง แยกอีกหนึ่งเส้นทางไปโดยรถไฟไปสถานีผิงเสียง - หนานหนิง 
- เส้นทางที่ 2 ด่านมุกดาหาร - สะหวันนะเขต (สปป.ลาว) - ด่านสักวัน - ด่านลาวบาว - ด่านหม่องก๋อย (กว่างมิงห์ เวียดนาม) - ด้านตงชิง (เมืองฝางเชิงก่าง) ที่เป็นเส้นทางใหม่ขนส่งผลไม้ไทยสู่จีนหลังจากนั้นก็จะไปสิ้นสุดที่เมืองหนางหนิงและกระจายสินค้าไปยัง มณฑลเซี่ยเหมิน(厦门市)มณฑลกว่างโจว(广州市)  ปักกิ่ง ( 北京市) เซี่ยงไฮ้(上海市)และ มณฑลหูหนาน ( 湖南省)

4.ด่านนครพนม หรือ เส้นทาง R12 เส้นทาง R12 ผ่านเส้นทางของ 4 ประเทศหลัก คือ ไทย - ลาว - เวียดนาม - จีน โดยมี 2 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางที่ 1 ด่านนครพนม (ประเทศไทย) - ท่าแขก (สปป.ลาว) - ด่านนาพาว - ด่านจาลอ (เวียดนาม) - ด่านหม่องก๋าย (กว่างมิงห์ เวียดนาม) - ด่านตงชิง (เมืองฝางเชิงกว่าง) และเข้าสู่เมืองหนานหนิง 
- เส้นทางที่ 2 ด่านมุกดาหาร -> ด่านท่าแขก (คำม่วน) - ด่านนาพาว -> ด่านจาลอ - ด่านหูหงิ (หล่างเซิง) -> ด่านโหยวอี้กวน 
เมื่อสินค้าเข้าสู่เมืองหนานหนิงก็จะกระจายสินค้าไปยังมณฑลเซี่ยเหมิน (厦门市)มณฑลกว่างโจว( 广州市) ปักกิ่ง ( 北京市) เซี่ยงไฮ้(上海市)และ มณฑลหูหนาน ( 湖南省)

          ถนนทั้งสี่สายนี้เป็นเส้นทางหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อประเทศไทย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่กระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและชาวสวนในแต่ละปี เป็นเม็ดเงินมหาศาลอีกด้วย