ธุรกิจโลจิสติกส์

ธุรกิจโลจิสติกส์

 

ธุรกิจโลจิสติกส์


1. ความสำคัญของโลจิสติกส์
       การพัฒนาโลจิสติกส์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในปี ๒๕๗๙ โดยการยกระดับศักยภาพโลจิสติกส์ทั้งระบบ และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน มุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและพร้อมเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี ๒๕๗๙ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมุ่งเน้นให้ต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ในระดับสากล 


2. สถานการณ์โลจิสติกส์ไทยในปัจจุบัน
       คาดว่าในปี 2566 ภาคโลจิสติกส์ของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยเรื่องการผ่อนปรนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่ขยายตัว รวมถึงธุรกิจ e-Commerce ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพิ่มทางเศรษฐกิจในกิจกรรมโลจิสติกส์และธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยในภาพรวม 

ข้อมูลจาก : สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย รายเดือน, สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

 

ประเภทนิติบุคคล

จำนวนนิติบุคคลนับตามสถานะแบบสะสม

(ราย)

มูลค่าทุนจดทะเบียนคิดตามสถานะแบบสะสม

(ล้านบาท)

 ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ 33,091 419,720.39
 การขนส่งทางบกและระบบท่อลำเลียง 24,086 171,432.13
 การขนส่งทางน้ำ 764 106,411.01
 การขนส่งทางอากาศ 250 33,541.74
 การขนถ่ายสินค้า 694 11,344.64
 คลังสินค้า 882 46,309.68
 การบริหารจัดการเกี่ยวกับสินค้า 1,719 30,807.89
 ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า 4,559 18,670.44
 ตัวแทนออกของอื่นๆ 137 1,202.87

ข้อมูลจาก : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ เดือนธันวาคม 2565

 

3. โอกาสของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย
     1. เส้นทาง BRI เปิดโอกาสทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะใน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย เมื่อสำเร็จแบบไร้รอยต่อแล้ว จะเกิดมูลค่าเพิ่ม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคในภาพรวมอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) 
     2. โลจิสติกส์สำหรับขนส่งสินค้าฮาลาล ซึ่งเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มและมีโอกาสขยายตัวสูง ตลาดโลจิสติกส์ฮาลาล (Halal Logistics) เป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของสินค้าฮาลาลไทยขยายตัว หากผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษาการจัดการสินค้าตามหลักฮาลาล 
ข้อมูลจาก : สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย รายเดือน, สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

 

4. กลยุทธ์ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

  • ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรและเครือข่ายของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย
  • สร้างโอกาสทางการค้าและการรับรู้ศักยภาพของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยในระดับสากล
  • พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย ให้ได้รับการรับรองคุณภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันและขยายธุรกิจบริการในระดับสากล
  • ส่งเสริมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย
  • สนับสนุนภารกิจการเชื่อมโยงการค้าสู่ E-commerce กับการขนส่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Logistics)

 

ธุรกิจโลจิสติกส์


1. ความสำคัญของโลจิสติกส์
       การพัฒนาโลจิสติกส์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในปี ๒๕๗๙ โดยการยกระดับศักยภาพโลจิสติกส์ทั้งระบบ และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน มุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและพร้อมเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี ๒๕๗๙ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมุ่งเน้นให้ต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ในระดับสากล 


2. สถานการณ์โลจิสติกส์ไทยในปัจจุบัน
       คาดว่าในปี 2566 ภาคโลจิสติกส์ของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยเรื่องการผ่อนปรนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่ขยายตัว รวมถึงธุรกิจ e-Commerce ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพิ่มทางเศรษฐกิจในกิจกรรมโลจิสติกส์และธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยในภาพรวม 

ข้อมูลจาก : สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย รายเดือน, สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

 

ประเภทนิติบุคคล

จำนวนนิติบุคคลนับตามสถานะแบบสะสม

(ราย)

มูลค่าทุนจดทะเบียนคิดตามสถานะแบบสะสม

(ล้านบาท)

 ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ 33,091 419,720.39
 การขนส่งทางบกและระบบท่อลำเลียง 24,086 171,432.13
 การขนส่งทางน้ำ 764 106,411.01
 การขนส่งทางอากาศ 250 33,541.74
 การขนถ่ายสินค้า 694 11,344.64
 คลังสินค้า 882 46,309.68
 การบริหารจัดการเกี่ยวกับสินค้า 1,719 30,807.89
 ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า 4,559 18,670.44
 ตัวแทนออกของอื่นๆ 137 1,202.87

ข้อมูลจาก : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ เดือนธันวาคม 2565

 

3. โอกาสของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย
     1. เส้นทาง BRI เปิดโอกาสทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะใน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย เมื่อสำเร็จแบบไร้รอยต่อแล้ว จะเกิดมูลค่าเพิ่ม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคในภาพรวมอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) 
     2. โลจิสติกส์สำหรับขนส่งสินค้าฮาลาล ซึ่งเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มและมีโอกาสขยายตัวสูง ตลาดโลจิสติกส์ฮาลาล (Halal Logistics) เป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของสินค้าฮาลาลไทยขยายตัว หากผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษาการจัดการสินค้าตามหลักฮาลาล 
ข้อมูลจาก : สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย รายเดือน, สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

 

4. กลยุทธ์ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

  • ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรและเครือข่ายของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย
  • สร้างโอกาสทางการค้าและการรับรู้ศักยภาพของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยในระดับสากล
  • พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย ให้ได้รับการรับรองคุณภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันและขยายธุรกิจบริการในระดับสากล
  • ส่งเสริมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย
  • สนับสนุนภารกิจการเชื่อมโยงการค้าสู่ E-commerce กับการขนส่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Logistics)