สหภาพยุโรปยกระดับการพัฒนาการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง


ภาพ (จากซ้าย): นางสุทธิยา จันทวรางกูร เจ้าหน้าที่โครงการ สหภาพยุโรปประจำประเทศไทย, นางสาวรัตนา อิทธิอมร ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบก, นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมการขนส่งทางบก, นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม, ฯพณฯ เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย, มร. ทิม มาเลอร์ ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย,นางสาวคาโรลิน คาโพน ผู้อำนวยการโครงการ GIZ, นางสาววิลาสินี ภูนุชอภัย ผู้อำนวยการร่วมโครงการ GIZ

กรุงเทพฯ22 มกราคม 2562 – โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป (EU) เพื่อดำเนินงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความปลอดภัยในภาคการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนามและไทย บรรลุเป้าในการช่วยเหลือและสนับสนุนวิสาหกิขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)กว่า 500 ราย ให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงและเกิดการขับขี่ที่ปลอดภัย มีระบบการขนส่งสินค้าอันตรายที่ปลอดภัย มีการพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับการเข้าถึงบริการทางการเงิน ตลอดจนเกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการขนส่งสีเขียว

ตลอดระยะเวลา 3 ปีของการดำเนินงาน(ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2559 – มกราคม 2562) โครงการได้ฝึกอบรมSMEs จำนวน 513 รายในภูมิภาค ซึ่งครอบคลุมพนักงานขับรถบรรทุกมากกว่า600 คน ส่งผลให้เกิดการประหยัดเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ยร้อยละ15.90 สำหรับรถหนักวิ่งเปล่า และร้อยละ16.86 สำหรับรถหนักบรรทุกสินค้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย โครงการฯ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงคมนาคมของประเทศเป้าหมายต่างๆ เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับ ส่งผลให้กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารของประเทศเมียนมาสามารถออกกฏกระทรวงได้ทั้งหมด 6ฉบับอย่างเป็นทางการ ขณะที่กระทรวงของประเทศเวียดนาม กัมพูชาและสปป. ลาว กำลังแก้ไขพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตราย ในแง่ของการสนับสนุนนโยบาย โครงการฯ ยังได้สนับสนุนกระทรวงคมนาคมของประเทศเวียดนาม ในการพัฒนาคู่มือมาตรฐานสำหรับการขนส่งสินค้าสีเขียวและได้ประกาศใช้แล้วเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561 นอกจากนี้มาตรการด้านการขนส่งสินค้าสีเขียว ยังถูกนำเสนอในวาระ“การมีส่วนร่วมของประเทศ” (NDC) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย และยังถูกหยิบยกมากล่าวเป็น  วาระสำคัญในการประชุมครั้งที่24ของภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(COP24)ด้วย

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวในพิธีปิดโครงการ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมและสหภาพยุโรปว่า “การคมนาคมขนส่ง ถูกยอมรับว่าเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาและบูรณาการเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เพราะการคมนาคมขนส่งมีบทบาทสำคัญในการขนย้ายสินค้าบริการและประชาชน นอกจากนี้ การคมนาคมขนส่ง ยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของ      อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)ความพยายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาถูกดำเนินการผ่านข้อตกลงและกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่นความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(CBTA)และการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งของอาเซียน ซึ่งโครงการขนส่งสินค้าและ     โลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้ให้การสนับสนุน5 ประเทศเป้าหมายในการดำเนินงานตามข้อตกลงและกรอบความร่วมมือดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเอง ก็มุ่งดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์อย่างยั่งยืนเช่นการขับขี่ที่ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน การขนส่งสินค้าอันตรายให้ปลอดภัยและการพัฒนามาตรฐานสำหรับการให้บริการรถบรรทุก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามวาระการประชุมระดับโลกของข้อตกลงปารีส ที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ร้อยละ 20 เนื่องจากภาคคมนาคมขนส่งถือว่าเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับต้นๆ ความพยายามของเราในการลดการใช้เชื้อเพลิงและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้ จึงช่วยสนองต่อของความมุ่งมั่นในวาระระดับโลก”

ฯพณฯ เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวว่า “แผนงาน       SWITCH-Asiaเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินของสหภาพยุโรปที่จะสนับสนุนประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ให้มีการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน และจนถึงปัจจุบัน มีโครงการจำนวนกว่า 100 โครงการที่ได้รับเงินทุนนี้แล้ว ด้วยการสนับสนุนเงินทุนของสหภาพยุโรปจำนวน 2.16 ล้านยูโรโครงการขนส่งสินค้าและ       โลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง นับว่าประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของSMEsด้านการขนส่ง ส่งผลให้เกิดการประหยัดเชื้อเพลิงโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ16 และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย นอกจากนี้โครงการฯ ยังให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกระทรวงคมนาคมทั้ง 5 ประเทศในการปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเหล่านี้ เกิดจากความร่วมมือที่ดีจากพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐSMEs ด้านการขนส่งสินค้าและสมาคมการขนส่งต่างๆ แนวทางการปฏิบัติที่ดีและบทเรียนที่ได้จากการดำเนินโครงการจะถูกนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าที่ยั่งยืนในภาคการขนส่งให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวน 2.4 ล้าน  ยูโร จากแผนงาน SWITCH-Asia ของสหภาพยุโรปและจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน(GIZ)ดำเนินงานหลักและได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง(MI)สมาคมขนส่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS-FRETA) รวมถึงโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการขนส่งทางบกของภูมิภาคอาเซียนของ GIZ

ที่มา : https://bit.ly/2Tv3deJ  

ภาพ (จากซ้าย): นางสุทธิยา จันทวรางกูร เจ้าหน้าที่โครงการ สหภาพยุโรปประจำประเทศไทย, นางสาวรัตนา อิทธิอมร ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบก, นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมการขนส่งทางบก, นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม, ฯพณฯ เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย, มร. ทิม มาเลอร์ ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย,นางสาวคาโรลิน คาโพน ผู้อำนวยการโครงการ GIZ, นางสาววิลาสินี ภูนุชอภัย ผู้อำนวยการร่วมโครงการ GIZ

กรุงเทพฯ22 มกราคม 2562 – โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป (EU) เพื่อดำเนินงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความปลอดภัยในภาคการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนามและไทย บรรลุเป้าในการช่วยเหลือและสนับสนุนวิสาหกิขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)กว่า 500 ราย ให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงและเกิดการขับขี่ที่ปลอดภัย มีระบบการขนส่งสินค้าอันตรายที่ปลอดภัย มีการพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับการเข้าถึงบริการทางการเงิน ตลอดจนเกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการขนส่งสีเขียว

ตลอดระยะเวลา 3 ปีของการดำเนินงาน(ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2559 – มกราคม 2562) โครงการได้ฝึกอบรมSMEs จำนวน 513 รายในภูมิภาค ซึ่งครอบคลุมพนักงานขับรถบรรทุกมากกว่า600 คน ส่งผลให้เกิดการประหยัดเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ยร้อยละ15.90 สำหรับรถหนักวิ่งเปล่า และร้อยละ16.86 สำหรับรถหนักบรรทุกสินค้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย โครงการฯ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงคมนาคมของประเทศเป้าหมายต่างๆ เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับ ส่งผลให้กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารของประเทศเมียนมาสามารถออกกฏกระทรวงได้ทั้งหมด 6ฉบับอย่างเป็นทางการ ขณะที่กระทรวงของประเทศเวียดนาม กัมพูชาและสปป. ลาว กำลังแก้ไขพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตราย ในแง่ของการสนับสนุนนโยบาย โครงการฯ ยังได้สนับสนุนกระทรวงคมนาคมของประเทศเวียดนาม ในการพัฒนาคู่มือมาตรฐานสำหรับการขนส่งสินค้าสีเขียวและได้ประกาศใช้แล้วเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561 นอกจากนี้มาตรการด้านการขนส่งสินค้าสีเขียว ยังถูกนำเสนอในวาระ“การมีส่วนร่วมของประเทศ” (NDC) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย และยังถูกหยิบยกมากล่าวเป็น  วาระสำคัญในการประชุมครั้งที่24ของภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(COP24)ด้วย

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวในพิธีปิดโครงการ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมและสหภาพยุโรปว่า “การคมนาคมขนส่ง ถูกยอมรับว่าเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาและบูรณาการเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เพราะการคมนาคมขนส่งมีบทบาทสำคัญในการขนย้ายสินค้าบริการและประชาชน นอกจากนี้ การคมนาคมขนส่ง ยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของ      อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)ความพยายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาถูกดำเนินการผ่านข้อตกลงและกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่นความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(CBTA)และการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งของอาเซียน ซึ่งโครงการขนส่งสินค้าและ     โลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้ให้การสนับสนุน5 ประเทศเป้าหมายในการดำเนินงานตามข้อตกลงและกรอบความร่วมมือดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเอง ก็มุ่งดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์อย่างยั่งยืนเช่นการขับขี่ที่ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน การขนส่งสินค้าอันตรายให้ปลอดภัยและการพัฒนามาตรฐานสำหรับการให้บริการรถบรรทุก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามวาระการประชุมระดับโลกของข้อตกลงปารีส ที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ร้อยละ 20 เนื่องจากภาคคมนาคมขนส่งถือว่าเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับต้นๆ ความพยายามของเราในการลดการใช้เชื้อเพลิงและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้ จึงช่วยสนองต่อของความมุ่งมั่นในวาระระดับโลก”

ฯพณฯ เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวว่า “แผนงาน       SWITCH-Asiaเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินของสหภาพยุโรปที่จะสนับสนุนประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ให้มีการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน และจนถึงปัจจุบัน มีโครงการจำนวนกว่า 100 โครงการที่ได้รับเงินทุนนี้แล้ว ด้วยการสนับสนุนเงินทุนของสหภาพยุโรปจำนวน 2.16 ล้านยูโรโครงการขนส่งสินค้าและ       โลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง นับว่าประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของSMEsด้านการขนส่ง ส่งผลให้เกิดการประหยัดเชื้อเพลิงโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ16 และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย นอกจากนี้โครงการฯ ยังให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกระทรวงคมนาคมทั้ง 5 ประเทศในการปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเหล่านี้ เกิดจากความร่วมมือที่ดีจากพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐSMEs ด้านการขนส่งสินค้าและสมาคมการขนส่งต่างๆ แนวทางการปฏิบัติที่ดีและบทเรียนที่ได้จากการดำเนินโครงการจะถูกนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าที่ยั่งยืนในภาคการขนส่งให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวน 2.4 ล้าน  ยูโร จากแผนงาน SWITCH-Asia ของสหภาพยุโรปและจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน(GIZ)ดำเนินงานหลักและได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง(MI)สมาคมขนส่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS-FRETA) รวมถึงโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการขนส่งทางบกของภูมิภาคอาเซียนของ GIZ

ที่มา : https://bit.ly/2Tv3deJ